การสอนที่เน้นการเล่าเรื่องจากเทพปกรณัมกรีกเพื่อพัฒนา การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ

Main Article Content

ปรียาภา วังมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการสอนที่เน้นการเล่าเรื่องเทพปกรณัมกรีกเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ และศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการสอนที่เน้นการเล่าเรื่องเทพปกรณัมกรีกเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ ประชากร คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาภาษาอังกฤษ จำนวน 134 คน ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา ENP2402 เทพนิยายอันเป็นพื้นฐานในวรรณคดี ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โดยการศึกษาวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 98 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ โดยใช้ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ ค่า t-test และการนำเสนอผลวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบของตารางประกอบคำบรรยาย


ผลการศึกษาพบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปได้ว่าการสอนที่เน้นการเล่าเรื่องเทพปกรณัมกรีกเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ มีประสิทธิผล สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนและพัฒนาองค์ความรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษได้ และความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการสอนที่เน้นการเล่าเรื่องเทพปกรณัมกรีกเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษอยู่ในระดับ เห็นด้วยมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.06 (S.D. = 0.7) แสดงถึงการมีทัศนคติเชิงบวกต่อการสอนที่เน้นการเล่าเรื่องเทพปกรณัมกรีกเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยสรุปแล้ว การสอนที่เน้นการเล่าเรื่องเทพปกรณัมกรีกสามารถเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการสอนและการเรียนรู้โดยเฉพาะการเพิ่มพูนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ

Article Details

How to Cite
วังมณี ป. (2023). การสอนที่เน้นการเล่าเรื่องจากเทพปกรณัมกรีกเพื่อพัฒนา การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ. วารสารฟ้าเหนือ, 14(2), 101–120. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/FaNJ/article/view/262383
บท
บทความวิจัย

References

ซิมมี่ อุปรา. (2557). ผลการใช้เทคนิคและวิธีการสอนคำศัพท์แบบหลากหลายและส่งเสริมแรง (MEVT) กรณีศึกษานักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. รายงานวิจัย. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ณภัทริน เภาพาน, ลดาวัลย์ วัฒนบุตร, สุณี ธิตานันต์, และ สกล สรเสนา. (2554). การศึกษาผลของการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจำ จากภาพประกอบตามแนวทฤษฏีพหุปัญญา สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ โรงเรียนธีรภาดาเทคโนโลยี จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 5(3), 57-65.

ดุสิตา ขันธพงษ์. (2560). การสอนคำศัพท์ให้เกิดประสิทธิผล Mythology of English Language Teaching Course (MELT) Defense International Training Center (DITC) [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. เครือรัฐออสเตรเลีย.

พัฐนนท์ พลหาญ. (2559). กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างของผู้เรียนไทยที่เรียนทางด้านธุรกิจในระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 24(45), 197-219.

วรวรรณ วงศ์ศรีวิวัฒน์. (2563).กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นปีที่ 1-3 มหาวิทยาลัยวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 10(2), 70-84.

สรชัย พิศาลบุตร. (2559). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). วิทยพัฒน์.

Gower, R; Phillips, D & Walters, S. (2005). Teaching Practice: A Handbook for Teacher in Training Thailand. Oxford Macmillan Education.

Gulliga Srihasarn and Tikamporn Wuttipornpong. (2020). Using Storytelling to Facilitate L2 Vocabulary Learning and Retention: A Case Study of a Secondary School in Thailand. Journal of Liberal Arts, 9(2), 283-315.

Huang, Tengmui. (1993). Teaching and Assessing Reading Comprehension. in

A Distant Education TEFL Programmer Pilot Material: Module Two (pp.33-34). SEMEO Regional Language Certer.

Robert, L. (1998). Language teaching: Teaching English across cultures. McGrawHill.

Wallace, Micheal. (1982). Teaching Reading Skills in a Foreign Language. Heinemanne Education Book, Ltd.