การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาญี่ปุ่นของนิสิตวิชาเอกภาษาญี่ปุ่น ด้วยกิจกรรมการอ่านอย่างกว้างขวาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาญี่ปุ่นของนิสิตวิชาเอกภาษาญี่ปุ่น ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการอ่านอย่างกว้างขวาง และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิตวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการอ่านอย่างกว้างขวาง โดยกำหนดการเลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก (Convenience Sampling) ตามเกณฑ์การดำเนินงานการขอจริยธรรมในมนุษย์ กลุ่มตัวอย่างที่สมัครใจ จำนวน 12 คน โดยให้กลุ่มตัวอย่างดำเนินกิจกรรมการอ่านอย่างกว้างขวางเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ เครื่องมือในการดำเนินการวิจัยมี 5 เครื่องมือ คือ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านเพื่อความเข้าใจของผู้เรียนวิชาเอกภาษาญี่ปุ่น ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการอ่านอย่างกว้างขวาง 2) แบบบันทึกการอ่านประจำวัน 3) แบบรายงานการอ่าน 4) แบบการสัมภาษณ์ระหว่างดำเนินกิจกรรม และ 5) แบบสอบถามที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมการทำกิจกรรมการอ่านอย่างกว้างขวาง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ โดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ ค่า t-test และนำเสนอผลวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบตารางประกอบคำบรรยาย ผลการวิจัย พบว่า 1) การใช้กิจกรรมการอ่านอย่างกว้างขวางช่วยให้ผู้เรียนมีพัฒนาการและความสามารถด้านการอ่านภาษาญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น คือ คะแนนทดสอบหลังเรียนของผู้เรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนของผู้เรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) จากการวิเคราะห์แบบสอบถามและการเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมการอ่านอย่างกว้างขวางของผู้เรียน พบว่าโดยภาพรวมจากการทำกิจกรรมการอ่านอย่างกว้างขวางผู้เรียนมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.87 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.25
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารฟ้าเหนือระบบ ThaiJO2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฟ้าเหนือระบบ ThaiJO2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารฟ้าเหนือระบบ ThaiJO2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารฟ้าเหนือระบบ ThaiJO2 ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 1). ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. http://academic.obec.go.th/images/document/1559878925_d_1.pdf
เนชั่น, พอล. (2564). เรียนภาษาอย่างไรให้ได้ดี [What do need to know to learn a foreign language]. (พิมพ์ครั้งที่ 1). สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). สุวีริยาสาส์น.
วรวุฒิ ตัถย์วิสุทธิ์. (2546). การจัดโปรแกรมการเลือกอ่านตามความสนใจเพื่อพัฒนาความเข้าใจในการอ่าน [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาโท ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Beglar, D. (2013). A Broad Conceptualization of Assessing Extensive Reading. JLTA jounal, 16, 1-13. https://doi.org/10.20622/jltajournal.16.0_1
Day, R., & Bamford, J. (1998). Extensive Reading in the Second Language Classroom. Cambridge University Press.
Endris, A. (2018). Effects of extensive reading on EFL Learners’ Reading Comprehension and Attitudes. International Journal of Research in English Education, 3(4), 1-11. https://doi: 10.29252/ijree.3.4.1
Hayashi, C. (2011). Extensive Reading and Intrinsic Motivation to Read. The Journal of engaged pedagogy, 10(1), 51-58. http://dl.ndl.go.jp/info:ndljp/pid/10481443
Jenks, D., & Brinham, A. D. (2012). The effects of text selection on student attitudes toward extensive reading. The journal of Kanda University of International Studies, 24, 181-202. http://id.nii.ac.jp/1092/00000609/
Lake, J., & Holster, T. A. (2012). Increasing Reading Fluency, Motivation and Comprehension through Extensive Reading. Studies in the humanities, 76, A47-A68. http://id.nii.ac.jp/1500/00002409/
Nakamura, R., (2021). Extensive Reading and After-reading Tasks for Four-skill Development for Japanese False-beginner University EFL Learners: Affective and Self-perceived Effects. Dokkyo journal of language learning and teaching, 9, 3-24. http://id.nii.ac.jp/1140/00002508/
Radcliffe, P. (2013). A Review of Two Years of Extensive Reading. 文化と言語:札幌大学外国語学部紀要, 78, 103-115. https://cir.nii.ac.jp/crid/1050001337554871168
Takase, A. (2012). The Effectiveness of Sustained Silent Reading in Becoming Autonomous Learners. 関西大学外国語教育フォーラム, 11, 1-14. https://cir.nii.ac.jp/crid/1050001202911384192
Unchai, T., Thongsan, N.C. (2021). Factors affecting extensive reading: The investigation of Thai primary students. In A. Sukying (Ed.), Harmony in Diversity: Multidisciplinary Perspectives on Glocalisation. The 2nd Language, Society and Culture International Conference (LSCIC). (pp. 188-208).
Waring, R. (2000). Guide to the ‘why’ and ‘how’ of using graded readers. Oxford University Press.
Yamashita, J. (2013). Effects of extensive reading on reading attitudes in a foreign language. Reading in a Foreign Language, 25(2), 248-263. https://cir.nii.ac.jp/crid/1010000782117273089