การใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เพื่อพัฒนาทักษะการพูดในที่ชุมชนของนักศึกษาสาขาภาษาไทย ชั้นปีที่ 2 โปรแกรมวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถภาพทักษะการพูดในที่ชุมชน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ ประสิทธิภาพ ทางด้านทักษะการพูดในที่ชุมชน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนการพูดโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์สำหรับนักศึกษาสาขาภาษาไทย ชั้นปีที่ 2 โปรแกรมวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายปีการศึกษา 2566 จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินผลการพูดเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการพูด และแบบสำรวจความพึงพอใจต่อการเรียนการพูดโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ จากนั้นผู้วิจัยดำเนินการพัฒนาโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ แล้วทำการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการพูดหลังเรียน นำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ด้วยสถิติที (t-test) จากนั้นให้นักศึกษาทำแบบแบบสำรวจความพึงพอใจ นำผลไปหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 16.00 และ ได้ค่าทีเท่ากับ 18.10 นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐาน
ข้อที่ 1 ที่กำหนดไว้ ด้านความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.84 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.27 เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2 ที่กำหนดไว้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารฟ้าเหนือระบบ ThaiJO2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฟ้าเหนือระบบ ThaiJO2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารฟ้าเหนือระบบ ThaiJO2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารฟ้าเหนือระบบ ThaiJO2 ก่อนเท่านั้น
References
ชาญสิปป์ ศิลารัตน์. (2560). การเสริมสร้างทักษะปฏิบัติ โดยการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบของเดวีส์ที่มีเว็บสนับสนุน สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบรบือ [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นิศานาถ รัตนพันธุ์. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เรื่องงานจิตรกรรม ที่มีต่อทักษะการทำงานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดนนทบุรี [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัย
พิมพาภรณ์ บุญประเสริฐ. (2558). วาทการ ศาสตร์และศิลป์แห่งการพูดเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสาร. สำนักพิมพ์ไอยรา.
ภูมิพัฒน์ ชัยบุรัมย์. (2560). รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์เพื่อพัฒนาโสตประสาทของนักเรียนดุริยางค์ทหารอากาศชั้นปีที่ 1 เรื่องขั้นคู่ โดยใช้บทเพลงไทย [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรังสิต.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศิลปศาสตร์. (2543). เอกสารการสอนชุดวิชา การใช้ภาษาไทย หน่วยที่1-8 (พิมพ์ครั้งที่ 8). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รุ่งโรจน์ ต้นประดิษฐ. (2558). การพัฒนาทักษะการพูดสุนทรพจน์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม จังหวัดเชียงราย [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
วรวรรธน์ ศรียาภัย. (2560). พูดให้สัมฤทธิผล หลักการและศิลปะวิธี. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิรัช ลภิรัตนกุล. (2543). วาทนิเทศและวาทศิลป์ หลักทฤษฎีและวิธีปฏิบัติยุคสหัสวรรษใหม่. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมเกียรติ รักษ์มณี. (2559). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร หน่วยที่ 1-7 หน่วยที่ 6 ทักษะการพูด (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3).มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมชาติ กิจยรรยง. (2555). ศิลปะการพูดสำหรับผู้นำ. เอ๊กซเปอร์เน็ท.
อรสา ปานขาว. (2562). เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาและทักษะเพื่อการสื่อสาร หน่วยที่ 1-7 หน่วยที่ 5 การฟังและการพูด (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อวยพร พานิช. (2562). เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาและทักษะเพื่อการสื่อสาร หน่วยที่ 1-7 หน่วยที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาษาเพื่อการสื่อสาร (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.