Problems and Guidelines for development of Academic Affairs Management in Islamic Private Schools under the Jurisdiction of the Office of Private Education, Pattani Province

Authors

  • อาอิด๊ะ เจ๊ะแว นักศึกษาปริญญาโท สาขาการบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม, วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • นิเลาะ แวอุเซ็ง ดร. (บริหารการศึกษา) ผู้ช่วยศาสตราจารย์, อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม, วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

Keywords:

Guidelines for the development, Academic administration, Islamic Private Schools.

Abstract

This research aimed to examine the problems and compare the perceived for Academic Affairs Management in Islamic Private Schools under the Jurisdiction of the Office of Private Education, Pattani Provincebased on age, educational qualifications, working experiences and school size are different and to propose guidelines for developing academic affairs administration in Islamic Private Schools under the Jurisdiction of the Office of Private Education, Pattani Province. The samples of the study include 390 teachers in Islamic Private Schools under the Jurisdiction of the Office of Private Education, Pattani Province.And9 interviewees.The Questionnaire and interview are also used in the research to collect the materials. The findings of this study are as follows: 1.Problems of Academic Affairs Management in Islamic Private Schools, for the overall was in “much” level. Considering each section, it was found that curriculum, assessment and evaluation at highest overage value aspect followed by leaning process and media technology teaching at middle overage value. 2. The comparison of different levels as Problems of Academic Affairs Management in Islamic Private Schools, for four variables based on age, educational qualifications, working experiences and school size are different found that: As an overall, was not different, except educational qualifications and working experiences was different. Significantly different at the level of .05.And  3. The proposed guidelines for the development of the academic affairs administrationinclude on 4 aspects;aspects on curriculum, aspects on leaning process,aspects on media technology teaching, andaspects onassessment and evaluation.

 

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับปัญหาและเปรียบเทียบระดับปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานีตามความเห็นของครูที่มี อายุ ระดับการศึกษาประสบการณ์การทำงานและปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน และเพื่อประมวลข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ครูผู้สอนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานีจำนวน 390 คน และผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ จำนวน 9คนแบบสอบถามในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากครูและแบบสัมภาษณ์ ในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้บริหารสถานศึกษา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานีโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากรายด้านด้านหลักสูตรและด้านการวัดผลและประเมินผลอยู่ในระดับมากส่วนด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้และด้านสื่อ เทคโนโลยี การเรียนการสอนอยู่ในระดับปานกลาง 2. ผลการเปรียบเทียบระดับปัญหาการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุ ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกันโดยภาพรวมพบว่าไม่แตกต่างกัน ส่วนระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงานโดยภาพรวมพบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3. ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการประกอบด้วย 4 ด้านคือ ด้านหลักสูตร ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ ด้านสื่อ เทคโนโลยี การเรียนการสอน และด้านการวัดผลและประเมินผล

References

จรุณี เก้าเอี้ยน. 2555. เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา : กลยุทธ์และแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.

จินดา ทรัพย์เมฆ. 2549. ความพึงพอใจของครูในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

นิลวรรณ วัฒนา.2556. การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นิเลาะ แวอุเซ็ง และคณะ.2552. บทความวิจัยเรื่อง การจัดการศึกษาเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ .ปัตตานี:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ฟาริด เตะมาหมัด. 2550. แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ฟาฏิมะฮ์แวสะมาแอ. 2552. การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการอิสลามโดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะภาษาไทย สําหรับเด็กมุสลิม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนจริยอิสลามศึกษาอนุสรณ์ อําเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

มูหามัดรูยานี บากา. 2554. การบูรณาการสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 3 สําหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอิสลามศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

มูฮำมัดนาเซ สามะ. 2552. สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนของรัฐที่เปิดสอนสองหลักสูตรจังหวัดยะลา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Downloads

Published

2018-04-02

How to Cite

เจ๊ะแว อ., & แวอุเซ็ง น. (2018). Problems and Guidelines for development of Academic Affairs Management in Islamic Private Schools under the Jurisdiction of the Office of Private Education, Pattani Province. Al-HIKMAH Journal, 6(11), 117–131. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HIKMAH/article/view/117100