การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการจัดการเรียนรู้บูรณาการสาระอิสลามศึกษาระดับประถมศึกษาตามแนวคิด Qaimt Model The Development of the Web Application for Islamic Integration Learning Management as the Concept of Qaimt Model

Main Article Content

เดช คำเคน
จารุวัจน์ สองเมือง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันการจัดการเรียนรู้บูรณาการสาระอิสลามศึกษาตามแนวคิด Qaimt Model 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน การจัดการเรียนรู้ด้วยเว็บแอพลิเคชั่นบูรณาการสาระอิสลามศึกษาระดับประถมศึกษาตามแนวคิด Qaimt Model ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้เว็บแอปพลิเคชันในการจัดการเรียนรู้อิสลามศึกษาตามแนวคิด QAiMt Model โดยใช้กลุ่มตัวอย่างนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 สองโรงเรียนในจังหวัดปัตตานี จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือบทเรียนเว็บแอปพลิเคชัน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน


          ผลการวิจัยพบว่า 1) การหาประสิทธิภาพการพัฒนาเว็บแอพลิเคชั่นเพื่อการจัดการเรียนรู้บูรณาการสาระอิสลามศึกษาระดับประถมศึกษาตามแนวคิด Qaimt Model มีประสิทธิภาพอยู่ที่ 80.50/89.72 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80/80 2) สรุปผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการจัดการเรียนรู้บูรณาการสาระอิสลามศึกษาระดับประถมศึกษาตามแนวคิด Qaimt Model สูงกวาก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 3) ความพึงพอใจบทเรียนเว็บแอปพลิเคชั่นเพื่อการจัดการเรียนรู้บูรณาการสาระอิสลามศึกษาระดับประถมศึกษาตามแนวคิด Qaimt Model อยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย โดยรวม 4.61

Article Details

How to Cite
คำเคน เ., & สองเมือง จ. (2021). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการจัดการเรียนรู้บูรณาการสาระอิสลามศึกษาระดับประถมศึกษาตามแนวคิด Qaimt Model: The Development of the Web Application for Islamic Integration Learning Management as the Concept of Qaimt Model . Al-HIKMAH Journal, 11(22), 455–470. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HIKMAH/article/view/249181
Section
Research Article

References

ธนพงษ์ ไชยลาโภ, เอกลักษณ์ โภคทรัพย์ไพบูลย์, ปริญญ์ โสภา. (2016). การพัฒนาสื่อบทเรียน ออนไลน์เรื่อง: การออกแบบเพื่อการผลิตสื่อปฏิสัมพันธ์และมัลติมีเดีย. The journal of social communication innovation, 4(2), 134-143.
ธันยาภรณ์ คอนคำ, จุไรรัตน์ สุดรุ่ง. (2019). การศึกษาสภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรโครงการเรียน ร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษา และมัธยมศึกษาตอนปลาย(ทวิศึกษา)ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 (ร้อยเอ็ด). An Online Journal of Education, 14(2), OJED1402053-13.
ธิดารัตน์กุล ณัฐรวงศ์, เกียรติศักดิ์ พันธ์ลำเจียก. (2562). การพัฒนาระบบการเรียนแบบปรับเหมาะบน เว็บตามแนวคิดการเรียนแบบรอบรู้ที่เสริมศักยภาพการเรียนเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. Journal of Education Prince of Songkla University, Pattani Campus, 29(3), 45-55.