ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 และครูวิทยาศาสตร์จำนวน 1 คน โรงเรียน เรียงราษฎร์อุปถัมภ์ ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส โดยจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ 16 ชั่วโมง เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียน แบบบันทึกภาคสนามของผู้วิจัย แบบสัมภาษณ์ผู้เรียน และแบบสัมภาษณ์ความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครูวิทยาศาสตร์ ดำเนินการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนกับกลุ่มเดียว วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า
- จากการทดสอบเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 60 พบว่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้มากกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานมีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับสูง
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ในด้านการสืบค้นความรู้ด้วยตนเอง การคิดสร้างสรรค์ กระบวนการกลุ่ม กล้าคิดกล้าแสดงออก และการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข
- ครูวิทยาศาสตร์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเพิ่มขึ้น
References
ทิศนา แขมมณี. 2547. ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรชัย ปูรณโชติ. 2531. การสอนกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์: คู่มือสำหรับครู. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เบญญา ศรีดารา. 2545. การเปรียบเทียบกระบวนการวิทยาศาสตร์ และเจตคติเชิง วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยการทำกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์และการเรียนรู้ตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ปริญญา
การศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.
ภพ เลาหไพบูลย์. 2540. แนวการสอนวิทยาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
มนัสชนก อุดมดี. 2550. การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
มาฆะ ทิพย์คีรี. 2547. การวิจัยการสอนโครงงานระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด.
มัณฑนี โคตรมี. 2548. การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ลัดดา ภู่เกียรติ. 2544. โครงงานเพื่อการเรียนรู้ หลักการและแนวทางการจัดกิจกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิมลศรี สุวรรณรัตน์ และมาฆะ ทิพย์ศรี. 2542. พัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ โครงงานวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.
อภิญญา ซื่อตระกูลพานิชย์. 2550. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการสอนแบบโครงงานวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Buck Institute for Education. 2007. New Tech Network school: Results of the National Survey of PBL and High School Refore. Novato, CA : Author. Availablefrom http://www.bie.org/research/library (2010 Feb 3)
Buck Institute for Education. 2009. PBL Starter Kit: To-the-Point Advice, Tools and Tips for Your First Project. Introduction chapter free.
Available from http://www.bie.org/tools/toolkit/starter (2010 Jan 12)
Diehl, W., Grobe, T., Lopez, H., & Cabral, C. 1999. Project-based learning : A strategy
for teacher and learning. Boston: Center for Youth Development and Education, Cooporation for Business, Work, and Learning.
Kolesnik, W.L. 1970. Education Psychology. New York : Mc-Graw-Hill Book.
McGuire, W. J. 1985. Attitudes and attitude change. New York : Random House.