พฤติกรรมก้าวร้าวในกลุ่มผู้ต้องขังชาย ในทัณฑสถานแห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
พฤติกรรมก้าวร้าว, ผู้ต้องขังชาย, ทัณฑสถานบทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมก้าวร้าวในกลุ่มผู้ต้องขังเพศชายกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ต้องขังชายในทัณฑสถาน(เรือนจำ)ของจังหวัดหนึ่ง ในพื้นที่ภาคใต้ตอนกลาง จำนวน 175 ราย สุ่มตัวอย่างโดยวิธีตามความสะดวก ด้วยความสมัครใจที่จะเข้าร่วม ในการศึกษา เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม(ปลายปิด)วัดพฤติกรรมก้าวร้าว ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ทดสอบความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นด้วยวิธีครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ในส่วนของพฤติกรรมก้าวร้าว เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ระดับพฤติกรรมก้าวร้าวในกลุ่มผู้ต้องขังชายมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย =2.59 (SD = 0.55) จากคะแนนเต็ม 4 และเมื่อพิจารณาพฤติกรรมก้าวร้าวในรายละเอียดแต่ละด้าน (ซึ่งมี 5 ด้านย่อย) พบว่า กลุ่มผู้ต้องขังชายมีพฤติกรรมก้าวร้าว อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดด้านการใช้กำลัง = 2.64 (SD = 0.63) รองลงมาคือด้านการปฏิเสธ = 2.62 (SD = 0.63) และพบว่ามีค่าเฉลี่ยที่ใกล้เคียงกันใน 3 ด้านที่เหลือ คือ ด้านการแสดงออกทางอ้อม = 2.59 (SD = 0.60) ด้านการมีอารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียว = 2.55 (SD = 0.62) และด้านการใช้ภาษาพูดหรือคำพูด = 2.54 (SD = 0.62) ตามลำดับ
ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อช่วยในการวางแผนปรับปรุงสภาพแวดล้อมของเรือนจำ และช่วยค้นหาแนวทางในการจัดการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าว ในกลุ่มผู้ต้องขังชาย เพื่อให้บริการพยาบาล/ดูแลรักษาแก่ผู้ต้องขังชายในทัณฑสถานซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของกรมราชทัณฑ์ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ในอนาคต
References
ชูศรี วงศ์รัตนะ. 2544. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดวงตา ไกรภัสสร์พงษ์. 2544. ความผิดปกติทางจิตเวชของผู้ต้องขัง:การศึกษาในเรือนจำเขต กรุงเทพมหานครและเรือนจำบางขวาง. กรุงเทพมหานคร: โรงพยาบาลนิติจิตเวช สุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
ทิพรัตน์ เฮงตระกูล. 2540. ผลการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีการใช้เหตุผลและอารมณ์เพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการ
แนะแนว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิรมล ธรรมเจริญ. 2545. ความพร้อมของหัวหน้าฝ่ายทัณฑปฏิบัติและหัวหน้าฝ่ายจำแนกลักษณะของผู้ต้องขังในการจำแนกลักษณะของผู้ต้องขัง.วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญ
วิทยาและงานยุติธรรมบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล.
พัชราภรณ์ เวชวงศ์วาน. 2532. ผลกระทบของการถูกจองจำต่อผู้ต้องขัง.วารสารราชทัณฑ์, 37 (4), 18-23.
วรรณรัตน์ ศรีสุวรรณ. 2536. การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะเกษตรศาสตร์ บางพระ ชลบุรี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการแนะแนว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
สถาบันกัลยาราชนครินทร์. 2546. รายงานการวิจัยภาวะสุขภาพจิตของนักโทษคดีความผิดต่อชิวิตและร่างกาย. กรุงเทพมหานคร: บี ยอนด์ พับลิสซิ่ง จำกัด.
เอมอร เสียงใหญ่. 2541. การศึกษาการเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ต้องขังเพื่อกลับเข้าสู่สังคมปกติ.วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอาชญวิทยาและงานยุติธรรม
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
Ang RP. 2007. Factor structure of the 12-item aggression questionnaire: further evidence from Asian adolescent samples.J Adolesc. Aug; 30(4): 671-85.
Gerevich J, Bacskai E, Czobor P. 2007. The Generalizability of the Buss-Perry Aggression Questionnaire. Int.J Methods Psychiatr Res.; 16(3): 124-36.
Hage S, Van Meijel B, Fluttert F, Berden GF. 2009. Aggressive behaviour in adolescent psychiatric settings: what are risk factors, possible interventions for nursing practice? A literature review. J
Psychiatr Ment Health Nurs. Sep; 16(7): 661-9.
Harris F, Hek G, and Condon L. 2006. Health needs of prisoners in England and Wales: the implications for prison health care of gender, age, and ethnicity. Health and Social Care in the Community, 15(1): 56-66.
Levitt L. and Loper AB. 2009. The influence of religious participation on the adjustment of female inmates. Am J Orthopsychiatry. Jan; 79(1): 1-7.
Meehan T, McIntosh W, and Bergen H. 2006. Aggressive behaviour in the high-secure forensic setting: the perceptions of patients. J Psychiatr Ment Health Nurs. Feb; 13(1): 19-25.
Smith, A.K. 1999. Theories of Aggression. Retrieved May 10, 2007, from
http://seredip.brynmawr edu/bb/neuro/neuro99/web3/Sith.html
Workman DG. and Cunningham DG. 1975. Effect of psychotropic drugs on aggression in prison setting. Canadian Family Physician. November: 63-66.