ปัจจัยพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • สุไรยา หนิเร่ ดุษฎีบัณฑิต หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • จรัส อติวิทยาภรณ์ รองศาสตราจารย์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • อาคม วัดไธสง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

ปัจจัยพหุระดับ, คะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET, โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม, สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนและเพื่อสร้างสมการพยากรณ์พหุระดับในการทำนายคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร ครูและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 1,047 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ตัวแปรปัจจัยระดับนักเรียน จำนวน 3 ตัวแปร ได้แก่ เจตคติต่อการเรียน นิสัยในการเรียนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน  ตัวแปรปัจจัยระดับห้องเรียน จำนวน 3 ตัวแปร ได้แก่ คุณภาพการสอนของครู บรรยากาศในชั้นเรียนและสัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียน และตัวแปรปัจจัยระดับโรงเรียน จำนวน 3 ตัวแปร ได้แก่ ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร สภาพแวดล้อมทางวิชาการของโรงเรียนและความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีการเรียนการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบสอบถามสำหรับนักเรียน   2) แบบสอบถามสำหรับครู และ 3) แบบสอบถามสำหรับผู้บริหาร มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.880 , 0.949 และ 0.981 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์พหุระดับ (Multilevel Analysis) ด้วยเทคนิคโมเดลเชิงเส้นตรงระดับลดหลั่นโดยใช้โปรแกรม HLM

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

  1. ปัจจัยระดับนักเรียนที่มีอิทธิพลต่อคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .001 ตามลำดับ คือ เจตคติต่อการเรียน นิสัยในการเรียนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยที่ตัวแปรปัจจัยระดับนักเรียนสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนได้ร้อยละ 14.23
  2. ปัจจัยระดับห้องเรียนที่มีอิทธิพลต่อค่าเฉลี่ยคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET)ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ คุณภาพการสอนของครู ส่วนตัวแปรบรรยากาศในชั้นเรียนและสัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียน ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติและไม่มีอิทธิพลต่อค่าเฉลี่ยคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET)ของนักเรียนโดยที่ตัวแปรปัจจัยระดับห้องเรียน สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET)ของนักเรียนได้ร้อยละ 53.73
  3. ปัจจัยระดับโรงเรียน พบว่า ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร สภาพแวดล้อมทางวิชาการของโรงเรียนและความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีการเรียนการสอน ไม่มีอิทธิพลต่อค่าเฉลี่ยคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยที่ตัวแปรปัจจัยระดับโรงเรียนสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนได้ร้อยละ 10.99
  4. สมการพยากรณ์พหุระดับในการทำนายคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีรูปแบบดังนี้

       O-NET = 97.283 + 29.378**QUA_TEA + 7.054CLIM_CLA - 0.495RELA_TS   

                   2.539*ATTITUDE + 25.001***STU_HAB + 4.386***ACH_MOTIV

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. 2548. แผนพัฒนาการศึกษาชายแดนภาคใต้ของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

กฤษฎา ศรีพานิชย์. 2546. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด

สกลนคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เกษตรชัย และหีม. 2542. ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนสอบคัดเลือก องค์ประกอบด้านจิตพิสัยองค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อมกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาวิทยาลัยอิสลามศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

จารุวรรณ เฮ้าทา. 2546. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดหนองบัวลำภู.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชนะ ภูมลี. 2549. ตัวแปรที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษเขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.

ดวงเดือน คันทะพรม. 2543. ความสัมพันธ์ระหว่างความถนัดทางการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดมหาสารคาม.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทัศณรงค์ จารุเมธีชน. 2548. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดเลย: การวิเคราะห์เชิงสาเหตุพหุระดับโดยใช้โมเดลระดับลดหลั่นเชิง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสารคาม.

นวรัตน์ ประทุมตา. 2546. ปัจจัยเชิงสาเหตุต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการวิจัยการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสารคาม.

นารี อาแว. 2545. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการของหัวหน้าภาควิชาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต.สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นินาวาลย์ ปานากาเซ็ง. 2544. คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนใต้.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นิเลาะ แวอุเซ็ง, ผ่องศรี วานิชย์ศุภวงส์, อิบราเฮ็ม ณรงค์รักษาเขต, อะห์มัด ยี่สุ่นทรง และมูฮัมหมัด รูยานี บากา. 2550. การจัดการศึกษาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. ปัตตานี: วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

บัญชา สุวรรณโท. 2545. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาสารคาม.

บุญมี พันธุ์ไทย. 2554. “การศึกษาของไทยยิ่งทำคุณภาพก็ยิ่งแย่ลง,” . มติชนรายวัน. 10 พฤษภาคม 2554 หน้า 7.

ประไพพร อุทธิยา. 2552.“ปัจจัยพหุที่ส่งผลต่อประสิทธิ ผลการใช้หลักสูตร ช่วงชั้นที่ 2 ของสถานศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคเหนือตอนบน”,วารสารบริหารการศึกษา. 4(2), 27-41.

ปราณี หลำเบ็ญสะ. 2553. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรง จูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาการวัดวิจัยการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ปิยนาถ บุนนาค. 2546.นโยบายการปกครองของรัฐบาลต่อชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (พ.ศ. 2475 - 2516). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรียาพร วงศ์นุตรโรจน์. 2551. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

พรรณีชูทัย เจนจิต. 2545. จิตวิทยาการเรียนการสอน.พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: เสริมสินพรีเพรสซิสเท็ม.

พิไลพร แสนชมพู. 2546.การศึกษารูปแบบความ สัมพันธ์ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต.สาขาวิชาวัดผลการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เพราพรรณ เปลี่ยนภู่. 2542. จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

มณฑารัตน์ ชูพินิจ. 2540. องค์ประกอบในการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เยาวเรศ จันทะเสน. 2545. ปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับผลการเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.สาขาวัดผลการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ราชันย์ บุญธิมา. 2542. การวิเคราะห์พหุระดับของการวิเคราะห์ถดถอย. วารสารการวัดผลการศึกษา (มศว. ประสานมิตร).

วัชรา จรูญผล, เสรี ชัดแช้ม และจันทร์พร พรหมมาศ.2548. การวิเคราะห์พหุระดับของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม2557, จาก http://erm.buu.ac.th/jn/jn

วิภา มิ่งเมือง. 2549. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

วิสิทธิ์ โรจนไพรวงศ์. 2545. การพัฒนาโมเดลความ สัมพันธ์เชิงสาเหตุแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิสิทธิ์ โรจนไพรวงศ์.2545. การพัฒนาโมเดลความ สัมพันธ์เชิงสาเหตุแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา.วารสาร วิจัยและวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา,1(1),1-8.

สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้. 2555. การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. สงขลา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุชาติ หอมจันทร์. 2546. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, บัณฑิต
วิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสารคาม.

สุทิน กองเงิน. 2547. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. 2552. สภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้.กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น.

อัคพงศ์ สุขมาตย์. 2545. รูปแบบความสัมพันธ์ขององค์ประกอบที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์.

เอื้อมพร หลินเจริญ และคณะ. 2552. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำให้คะแนนการทดสอบ O-NET ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่ำ. กรุงเพทฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแหง่ชาติ (มหาชน).

Bloom, B.S. 1976. Human Charactoristics and School Learning. New York: McGraw- Hill Book Company.

Clark-Thayler Susan. 1987. “The Relationship of The Knowledge of Student Perceived Learning Style Preference and Study Habit and Attitudes to Achievement of College Freshmen in Small,Urban
University,” Dissertation Abstracts International.48(4)(October1987),872-A.

Cowell,M.D. and Entwistle, N.J. 1971. The Relationships between Personality Study Attitudes and Academic Performance in Technical College.The British of Education Psychology.(February 1971),85-90.

Koutsoulis,M.K.,&Campbell,J.R. 2001. Family processes affect students motivation,and science and math achievement in Cypriot high schools. Structural Equation Modeling.8 (1),108-172.

Kreft and Leeuw. 1998. Comparing Five Different Statistical Packages for Hierarchical Linear Regression: BMDP-5V. GenmoD.HLM. ML3. And VARCL.American Statistical.

Khan, S.B. and Robert, D.M. (1969, April). “Affective Correlates of Academic Achivement”, Journal of Educational Psychology. 10. (April 1969); 216 – 221.

Reynold,A.J.,&Walberg,H.J. 1992. A Structural model of science achievement and attitude: An extension to high school. Journal of Educational Psychology, 84(3,371-382).

Singh,K.,Granville,M.,&Dika,B.(2002).Mathematics and Science achievement : Effect of motivation,interest,and academic engagement. Journal of Educational Research. 95(6), 323-331.

Young,D.J.,Reynold,A.J.,&Walberge,H.J.(1996).“Science chievementand educational productivity:A hierarchical linear model,” Journal of Educational Research.89(5),272-278.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-18

How to Cite

หนิเร่ ส., อติวิทยาภรณ์ จ., & วัดไธสง อ. (2018). ปัจจัยพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ, 5(9), 17–35. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HIKMAH/article/view/115212