บทบาทของมหาวิทยาลัยอิสลามยะลาในการอิสลามานุวัตรการศึกษา
คำสำคัญ:
บทบาทมหาวิทยาลัยอิสลาม, มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา, อิสลามานุวัตรองค์การศึกษา, อิสลามานุวัตรองค์ความรู้, การศึกษาอิสลามบทคัดย่อ
บทความฉบับนี้เสนอแนวคิดหลักเกี่ยวกับบทบาทของมหาวิทยาลัยอิสลามยะลาในการอิสลามานุวัตรการศึกษา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลามีบทบาทที่สำคัญในการจัดการศึกษาที่เน้นการบูรณาการและการอิสลามานุวัตรการศึกษา บทความได้วิเคราะห์บทบาทของมหาวิทยาลัยในด้านปรัชญาการศึกษา พัฒนาหลักสูตร การพัฒนาอาจารย์และบุคลากร การจัดเตรียมหนังสือและแหล่งการเรียนรู้ การวิจัยและการพัฒนา ตลอดจนการบริการวิชาแก่สังคม และได้นำเสนอแนวทางสำหรับมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาบทบาทในการจัดการกระบวนอิสลามานุวัตรในบริบทที่มีความครอบคลุมมากขึ้นและแผ่ขยายไปสู่สถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐานและสังคมมุสลิมในวงกว้าง คือ1.การจัดหลักสูตรเพื่อพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาโดยมุ่งเน้นการผลิตครูและบุคลากรที่ยึดมั่นต่ออิสลาม 2. การพัฒนาหลักสูตร ควรเตรียมคู่มือหลักสูตรที่มีเนื้อหาวิชาในทัศนะอิสลามในทุกวิชาและมีคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการอิสลามานุวัตรเทคนิคและวิธีการสอนตลอดจนการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร 3. การพัฒนาหนังสือตำราและแหล่งการเรียนรู้ ควรสอดแทรกทัศนะอิสลามในทุกศาสตร์สาขาวิชา และเตรียมสื่อทางโสตทัศนวัสดุตามแนวทางอิสลาม 4. การจัดตั้งโรงเรียนสาธิต เพื่อใช้ทดลองสาธิตเกี่ยวกับการศึกษาและการวิจัย 5. ฝ่ายวิจัยควรเตรียมตำราที่เกี่ยวข้องกับทัศนะอิสลาม และควรติดตามประเมินความก้าวหน้าของสถาบันในการบูรณาการและอิสลามานุวัตรองค์ความรู้ในทุกระดับ 6. การให้บริการวิชาการต่อชุมชน ควรเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาอิสลามที่ครอบคลุมและบูรณาการ
References
ซอลีฮะห์ หะยีสะมะแอ. 2546. ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการศึกษาในวิทยาลัยอิสลามยะลา. รายงานการวิจัย วิทยาลัยอิสลามยะลา.
Ahmad al-Bayly. Refultation of Duality. Cited in Husayn, Shik Sajjad and Ashraf, Shik Ali. 1979. Crisis in Muslim Education pp. 68-73. King Abdulaziz University, Jeddah: Hodder and Stoughton.
Asraf, Ali. 1985. New Horizon in Muslim Education. Great Britain: Antony Rowe Ltd.
Baba, Sidek. 2000. Integrated Knowledge in the Tawhidic Curriculum. Muslim education Quarterly, 17 (2).The Islamic Academy, Cambridge, U.K.
Ghulam Nabi Saqeb. 2000. The Islamisation of Education since the 1977 Makkah Education Conference: Achievements, Failures and Tasks Ahead. Muslim Education Quarterly, 8 (1).The Islamic Academy,
Cambridge, U.K.
Ghulam Nabi Saqeb. 2000.The Islamisation of Education since the 1977 Makkah Education conference: Achievements, Failures. A paper presented to International Conference on Islamization of Human
Sciences. 4th-6th August, International Islamic University Malaysia, Gombak, Malaysia.
Hashim, Rosnani. 1997. The Construction of an Islamic-Based Teacher Education Programme. Muslim Education Quarterly, 14 (2). The Islamic Academy, Cambridge, U.K.
Hashim, Rosnani. 2005. Islamic Intellectual in Higher Islamic Education in Malaysia. A paper presented to International Seminar on "University Teaching of Islamic Studies at the International" Level: Concept, Policy and Trends. 19-20 March. Songkhla, Thailand.
Husain, Shik Sajjad and Ashraf, Shik Ali. 1979. Crisis in Muslim Education. Jeddah.
Talat Sultan. 1997. The Role of Islamic University in the Islamization of Education. Muslim Education Quarterly,14 (3). The Islamic Academy, Cambridge, UK.
Wan Kamariah Leman. 2002. Sejarah dan Tamatsdun Islam. Shah Alam: Universiti Teknologi Mara.