ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหุ้นของบริษัทหมวดธุรกิจการท่องเที่ยวและสันทนาการ(TOURISM)และหมวดธุรกิจโลจิสติกส์ (TRANS) ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
คำสำคัญ:
ความสามารถในการทำกำไร, อัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหุ้น,บริษัทหมวดธุรกิจการท่องเที่ยวและสันทนาการและหมวดธุรกิจโลจิสติกส์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหุ้นของบริษัทหมวดธุรกิจการท่องเที่ยวและสันทนาการและหมวดธุรกิจโลจิสติกส์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบริษัทในหมวดธุรกิจการท่องเที่ยวและสันทนาการและหมวดธุรกิจโลจิสติกส์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 16 บริษัท และสัมภาษณ์นักลงทุนในพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไร มีความสัมพันธ์กับอัตราส่วนต่างราคาหุ้น ดังนี้ 1) อัตราความสามารถในการทำกำไร ROA มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหุ้นของบริษัท ลากูน่า รีสอร์ทแอนด์ โฮเท็ล จำกัด (มหาชน) และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.001 และ 0.05 ตามลำดับ และมีความสัมพันธ์ในเชิงลบกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหุ้นของบริษัท กรีน รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน)อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 2) อัตราความสามารถในการทำกำไร ROE มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหุ้นของบริษัท ลากูน่า รีสอร์ทแอนด์ โฮเท็ล จำกัด (มหาชน) และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)ที่ระดับนัยสำคัญ 0.001 และ 0.05 ตามลำดับ และ มีความสัมพันธ์ในเชิงลบกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหุ้นของบริษัท กรีน รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 3) อัตราความสามารถในการทำกำไร NPM มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับอัตราส่วนต่างราคาหุ้นของบริษัท ลากูน่า รีสอร์ทแอนด์ โฮเท็ล จำกัด (มหาชน) และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ 4) อัตราความสามารถในการทำกำไร OIM มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับอัตราส่วนต่างราคาหุ้นของบริษัท ลากูน่า รีสอร์ทแอนด์ โฮเท็ล จำกัด (มหาชน) ,บริษัท โรงแรมรอยัล ออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01,0.05 และ 0.05 ตามลำดับ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อส่วนต่างราคาหุ้นของบริษัทหมวดธุรกิจการท่องเที่ยวและสันทนาการและหมวดโลจิสติกส์ ได้แก่ การเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จำนวนนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น การจัดประชุมและการสัมมนาภายในประเทศมากขึ้น และนโยบายของภาครัฐที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การขยายการลงทุนของบริษัท และจำนวนเงินทุนจากการลงทุนของผู้ร่วมหุ้นที่เพิ่มขึ้นและลดลงเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อผลต่างของราคาหุ้นของบริษัทที่มีมูลค่ารวมของตลาดขนาดใหญ่
References
กองความร่วมมือการลงทุนต่างประเทศ. (2561). สถิติการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ รายเดือนสะสม ปี 2560. สืบค้นออนไลน์ วันที่ 5 มกราคม 2561 จากhttps://www.boi.go.th/upload/summarize_1612_73498.pdf.
กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564).
กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์. (2561). รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทยประจำปี2560.
กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว. ฉบับที่ 9 เดือนกรกฎาคม – กันยายน.
กิติยา จอกทอง และ กนกวรรณ จันทร์เจริญชัย (2559). ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราผลตอบแทนของกลุ่มหลักทรัพยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและสันทนาการ. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม 2557 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี.
เกศรินทร์ บุญเรือง และ ประเสริฐ ไชยทิพย์ (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ ในกลุ่มการท่องเที่ยวและสันทนาการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยวิธี เออาร์ดีแอล. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 15(1). 92 – 110.
ชลวิช สุธัญญารักษ์. (2558). การประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จากัด (มหาชน). วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 9(2). 85 – 96.
ณัฐชรัตน์ สินธุชัย และ ณัฐกานต์ แหวนเพ็ชร. (2559). ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มธุรกิจการแพทย์และธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 6 (2), 111-120.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2558). การวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยใช้ปัจจัยพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : ส่วนสิ่งพิมพ์ ฝ่ายสื่อสารองค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
(2560). ข้อมูลรายบริษัท/หลักทรัพย์. สืบค้นออนไลน์ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2560 จาก https://www.set.or.th/set/commonslookup.do?language=th&country=TH
ต่อยศ สุดมี และ กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2556). การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของการลงทุนในหลักทรัพย์กล่มุอุตสาหกรรมบริการ หมวดธุรกิจการท่องเที่ยวและสันทนาการโดยใช้ตัวแบบจําลองการกําหนดราคาหลักทรัพย์(CAPM). วารสารการเงิน การธนาคาร และการลงทุน ปีที่1 ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน 2556)
นิธิมา ปรีชาวัน. (2557) .ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราผลตอบแทนรายเดือนของหลักทรัพย์ในกลุ่มธุรกิจบริการทางด้านบริการขนส่งและโลจิสติกส์. การค้นคว้าอิสระ. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
นิศศา ศิลปะเสรฐ. (2560). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิบูล ทีปะปาลและ ธนวัฒน์ ทีปะปาล. (2559). การจัดการเชิงกลยุทธ์.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2561.
สมบัติ กาญจนกิจ. (2560). นันทนาการและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวพิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 -2564.
อริสรา เสยานนท์. (2560). การประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่นจำกัด (มหาชน).