การประชาสัมพันธ์และศึกษาผลการใช้แอพพลิเคชั่นส่งเสริมการท่องเที่ยว 3 ภาษาที่มีต่อการยกระดับการท่องเที่ยวใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • Jehsuhana Wangpittaya Department of English, Faculty of Liberal Arts and Social Sciences, Fatoni University

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การวิจัยเรื่อง “การประชาสัมพันธ์และศึกษาผลการใช้แอพพลิเคชั่นส่งเสริมการท่องเที่ยว 3 ภาษาที่มีต่อการยกระดับการท่องเที่ยวใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” เป็นการวิจัยในรูปแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ศึกษาในลักษณะการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D)  โดยเก็บขอมูลวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเชิงปริมาณ (Quantitative Data) ด้วยการใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) และการสัมภาษณ์กลุ่มเล็ก (Focus Group Discussion) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการทำงานและโครงสร้างของโมบายแอพพลิเคชั่น Southside 3 ภาษา ในการประชาสัมพันธ์ ส่งเสริม และยกระดับการท่องเที่ยวใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 2) กำหนดแนวทางการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น Southside 3 ภาษา ในการประชาสัมพันธ์ ส่งเสริม และยกระดับการท่องเที่ยวใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยว และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการท่องเที่ยวในพื้นที่ ได้แก่ ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ตัวแทนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนราธิวาส สื่อมวลชน และตัวแทนจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ที่กำกับดูแลด้านการท่องเที่ยว ที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยว ภูเขาทอง อำเภอสุคีริน จังหวัดนราธิวาส และจุดชมทะเลหมอกอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ผ่านการใช้โมบายแอพพลิเคชั่น Southside ส่งเสริมการท่องเที่ยว 3 ภาษา  จำนวน 65  คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Random Sampling) ประมวลผลข้อมูลที่ได้รับจากแบบสอบถามเชิงปริมาณ วิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าความถี่  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเชิงคุณภาพผ่านการอธิบายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้แอพพลิเคชั่นส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 20-29 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี มีความพึงพอใจในการใช้งานโมบายแอพพลิเคชั่นในระดับ “มาก” คิดเป็นร้อยละ 74.4 ( = 3.72)   และมีความคิดเห็นว่า แอพพลิเคชั่น Southside มีความสามารถในการยกระดับการท่องเที่ยวในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในระดับ “มาก” คิดเป็นร้อยละ 75.8  (= 3.79) ส่วน function การใช้งานของแอพพลิเคชั่นที่ตอบสนองการใช้งานของกลุ่มตัวอย่างน้อยที่สุด คือ function การเลือกภาษา  คิดเป็นร้อยละ 74.4 ( = 3.72 )  ที่เป็นเช่นนี้ เพราะการใช้ภาษาที่มากกว่า 1 ภาษา นอกเหนือจากภาษาไทยในแอพพลิเคชั่นยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มตัวอย่างได้เท่าใดนัก หรืออีกนัยหนึ่งหนึ่งก็คือ กลุ่มตัวอย่างไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติของแอพพลิเคชัน Southside ในเรื่องนี้มากเท่าประเด็นอื่นๆ เนื่องจาก กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นชาวไทย และใช้ภาษาไทยเป็นหลัก จึงเป็นเหตุผลให้ function การเลือกการใช้ภาษาได้คะแนนน้อยกว่าการสนองความต้องการในเรื่องอื่นๆ ดังนั้น ผลการวิจัยนี้ สามารถเป็นแนวทางการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น Southside โดยมุ่งเน้นการพัฒนาในเรื่องการบริการที่ตอบสนองได้น้อย  และเร่งพัฒนารูปแบบโครงสร้างให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองนักท่องเที่ยวมากขึ้นต่อไป

References

บรรณานุกรม

ณัฏฐ์นรี ฤทธิรัตน์ ธัญภา ชิระมณี. (2014). ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทย, Graduate Research Conference; 2839 –
2848.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564).
กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี
ยุวดี เอี่ยมสนธิทรัพย์. (2559). เจาะลึกพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนคนไทย 2016. ค้นหาออนไลน์เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2560, จาก:
https://www.brandbuffet.in.th/2016/11/thailand-mobile-behavior-nielslen/
ศิริพร แซ่ลิ้ม. (2558). พฤติกรรมการใช้ไลน์แอพพลิเคชั่นของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน คณะ
วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทัศนีย์ ดำเกิงศักดิ์. (2560). พฤติกรรมการสื่อสาร ความคาดหวังและการนำ เสนอตัวตน ของเยาวชนเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับ
เพื่อนต่างเพศ บนเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก. นิเทศสยามปริทัศน์ ปีที่ 16 ฉบับที่ 20. 48-56.
ศักรินทร์ ตันสุพงษ์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับแอพพลิเคชั่นไลน์. วิทยานิพนนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
เทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Blumler, J.G. and Katz, E. (1974) The Uses of Mass Communications: Current Perspectives on Gratifications
Research. Sage Annual Reviews of Communication Research, Volume 3.
https://eric.ed.gov/?id=ED119208
Ronald Brian Adler, Jeanne Marquardt Elmhorst McGraw-Hill. (2005). Communicating at Work: Principles and
Practices for Business and the Professions. Communicating At Work Adler Elmhorst - Free PDF eBook (looksbysharon.com)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-06