การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
คำสำคัญ:
การประเมินหลักสูตร, ดุษฎีบัณฑิต, เทคโนโลยีการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2559 โดยใช้แบบจำลองการประเมินแบบซิปป์ 2) ศึกษาความต้องการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา และนำข้อมูลไปใช้ในการทำงานของบัณฑิต 3) ศึกษาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ และ 4) จัดทำข้อเสนอแนะและแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 28 คน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา อาจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง อาจารย์ผู้สอน นิสิต และผู้ใช้บัณฑิตตามหน่วยงานหรือสถานประกอบการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ผลการประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 มีรายละเอียดโดยสรุป ดังนี้ 1) ความคิดเห็นต่อหลักสูตรฯ โดยรวมด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลิตผล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการศึกษาความคิดเห็นต่อความต้องการหลักสูตรฯ ฉบับกรรมการประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนมีค่า (= 4.60 / S.D. = 0.10) และฉบับนิสิตมีค่า (
= 4.50 / S.D. = 0.17) อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการศึกษาความคิดเห็นต่อการนำความรู้ไปใช้ในการทำงานฉบับกรรมการประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนมีค่า (
= 4.61 / S.D. = 0.11) และฉบับนิสิตมีค่า (
= 4.61 / S.D. = 0.08) อยู่ในระดับมากที่สุด 4) ผลการศึกษาความคิดเห็นต่อคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์หลักสูตรฯ พบว่า อยู่ในระดับมาก (
= 4.67 / S.D. = 0.11)
References
บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์น.
มารุต พัฒผล. (2556). การประเมินหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อาร์ แอนด์ เอ็น ปริ้นท์.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2548). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุนีย์ ภู่พันธ์. (2546). แนวคิดพื้นฐานการสร้างการพัฒนาหลักสูตร. เชียงใหม่: เดอะ โนวเลจ เซนเตอร์.
สุรวีร์ เพียรเพชรเลิศ. (2561). แนวคิดและแนวทาง: การประเมินหลักสูตร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุสรณ์ นางทะราช. (2549). การประเมินหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Parkay, F.W. & Hass, F.G. (2000). Curriculum Planning: A Contemporary Approach. 7th Edition. Boston: Allyn and Bacon.
Skog, D.A., Wimelius, H. & Sandberg, J. (2018). Digital Disruption. Business & Information Systems Engineering. 60(4), 431–437.
Stufflebeam, Daniel L. (1971). Education Evaluation and Decision Making. Itasca, Illinois: F.E. Peacock Publishers, Inc.,
Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt, Race and World.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 ภาควิชาบัณฑิตศึกษานานาชาติการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Copyright@HRD Journal, Burapha University