ศักยภาพการช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่บ้านบนฐานการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
Abstract
The purpose of this mixed method study was to study the potential performance for helping children with special needs. The sample was a group of 41 stakeholders in the Saluang Subdistrict Administrative Organization, Maerim District, Chiangmai Province. Questionnaires, informal interviews, and operational seminars were organized for the stakeholders and used as the instruments for data collection. The collected data were analyzed by descriptive statistics and analytic induction. The results indicated that the potential performance was on the modulate level (mean = 1.85). The SWOT analysis result recommends the needs for more accessible educational service under the community participation. The stakeholders’ suggestion emphasized a policy for developing and adjusting people’s attitudes towards special needs students.
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษบนฐานการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 41 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ และการสัมมนาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ศักยภาพการปฏิบัติงานตามบทบาทการช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 1.85) ส่วนศักยภาพชุมชนในการช่วยเหลือด้านการศึกษา โดยการวิเคราะห์สภาพการณ์ได้สะท้อนความต้องการการบริการการศึกษาที่สามารถเข้าถึงได้ภายใต้การมีส่วนร่วมในชุมชน ทั้งนี้ ผู้มีส่วนได้เสียได้เสนอแนะเชิงนโยบายให้มุ่งเน้นการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และการปรับทัศนคติของประชาชนต่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
Article Details
All submitted articles are subject to academic validation by qualified experts (peer review). The opinions expressed in each article of this publication are those of the authors themselves. The editorial board holds no responsibilities on them and does not reserve the copyright for academic use with the condition that the reference of their origin is cited.
References
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2560). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
ประภาศรี ทุ่งมีผล, ภัทราภรณ์ ทุ่งปันคำ, และ สมบัติ สกุลพรรณ์. (2550). การสนับสนุนทางสังคม ความพร้อมในการดูแล และความเครียดของมารดาผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิสติก. พยาบาลสาร, 34(1), 64-75.
ปัณณ์พัฒน์ จันทร์สว่าง. (2557). เด็กที่มีความต้องการพิเศษ. จาก https://taamkru.com/th/เด็กที่มีความต้องการพิเศษ/
ภัทร์กานต์ จันทร์มา, และ อุทัย ดุลยเกษม. (2559). คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล: กรณีศึกษาเทศบาลนครสงขลาและเทศบาลนครหาดใหญ่. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 14(2), 119-131.
ภัทราภรณ์ ทุ่งปันคำ, และ คนึงนิจ ไชยลังการณ์. (ม.ป.ป.). อุปสรรค และ ความต้องการการช่วยเหลือในการดูแลเด็กออทิสติก. จาก https://www.jvkk.go.th/researchnew/qrresearch.asp?code=0101779
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะลวงนอก. (2559). รายงานประจำปีงบประมาณ 2559. เชียงใหม่: อัดสำเนา.
สมพร หวานเสร็จ. (2552). การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ สำหรับผู้ปกครองของบุคคลออทิสติกในศูนย์การศึกษาพิเศษ. ขอนแก่น: ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 จังหวัดขอนแก่น.
สุจิตรา บางสมบุญ, เตือนใจ แก้วสารพัดนึก, และ ภคมน โพธิ์ศรี. (2551). ผลการใช้รูปแบบการให้บริการส่งเสริมพัฒนาการต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กพิการทางสมอง. จาก https://www.jvkk.go.th/research/qrresearch.asp?code=0103103
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2555). เปิดสถานการณ์เด็กบกพร่องการเรียนรู้ “แอลดี-ออทิสติก-สมาธิสั้น-เรียนรู้ช้า”. จาก https://www.qlf.or.th/Home/Contents/530
Matthew, B. M., Michael, H., & Johnny, S. (2014). Qualitative data analysis: An expanded sourcebook. (3rd ed.). California: SAGE Publications .
National Center for Learning Disabilities. (2014). The state of learning disabilities facts, trends and emerging issues. New York: NCLD.