การศึกษาเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมจังหวัดภูเก็ตเพื่อการพัฒนาภาพลักษณ์ของธุรกิจสปาในจังหวัดภูเก็ต
Main Article Content
Abstract
This study aims to examine Phuket architectural identity for alternative approaches of image development in a Phuket spa business. The ultimate goal of this research is to enhance marketing competitiveness by fostering a unique and notable image leading to customer loyalty and satisfaction. The research employed qualitative methods. The key technique for data collection was in-depth interviews and focus group interviews. The key informants were 28 direct stakeholders from the tourism and spa industry in Phuket. These also included local representatives whose expertise was local history, arts, and culture. The informants were divided into five groups. These included non-local spa business entrepreneurs, local spa entrepreneurs, local leaders, architecture and tourism academia and associations, and tourism organizations. Various field trips to spa businesses and arts and culture venues were made in three districts. Direct observation and documentation analysis were also supplemented to the data analysis. The research findings highlighted that Phuket architecture has been influenced by diverse existing local cultures. However, the architecture can be categorized into four different themes: Southern Thai dwellings, Thai-Muslim houses, Chinese-colonial architecture, and local Chinese commercial buildings. As a result, the four themes have a great impact on the physical structures or architecture styles that are being employed in the spa business, which led to an even greater diversity of architectural styles. There are also other significant factors affecting the architecture design which include owner preference, local civilization, and natural elements. The research proposes two characters for a unique and notable physical structure in a spa business, functional and emotional characters. The two characters consist of sub-elements which are natural, physical, socio-cultural, technological, aesthetical, and sentimental elements. Interestingly, the research findings also highlighted that an alternative unique physical structure for a spa business should be an integrated approach synchronizing three notable themes: the Andaman Sea, local arts and culture, and Phuket’s diverse local cultures. The three themes are deemed to be a crucial character leading to unique, notable and accurate physical structure for better business competitiveness at both national and international level.
บทคัดย่อ
การศึกษาเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมจังหวัดภูเก็ตเพื่อการพัฒนาภาพลักษณ์ของธุรกิจสปาในจังหวัดภูเก็ต มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมท้องถิ่นของจังหวัดภูเก็ตและธุรกิจสปาในจังหวัดภูเก็ต 2) เพื่อพัฒนาภาพลักษณ์ของธุรกิจสปาจากลักษณะเด่นทางกายภาพด้านสถาปัตยกรรมท้องถิ่นของจังหวัดภูเก็ต และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบทางเลือกเพื่อสร้างเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของธุรกิจสปาในจังหวัดภูเก็ตเพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์ และการจดจำของสินค้าและบริการของธุรกิจสปาในจังหวัดภูเก็ตการศึกษาเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมจังหวัดภูเก็ตเพื่อการพัฒนาภาพลักษณ์ของธุรกิจสปาในจังหวัดภูเก็ต มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมท้องถิ่นของจังหวัดภูเก็ตและธุรกิจสปาในจังหวัดภูเก็ต 2) เพื่อพัฒนาภาพลักษณ์ของธุรกิจสปาจากลักษณะเด่นทางกายภาพด้านสถาปัตยกรรมท้องถิ่นของจังหวัดภูเก็ต และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบทางเลือกเพื่อสร้างเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของธุรกิจสปาในจังหวัดภูเก็ตเพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์ และการจดจำของสินค้าและบริการของธุรกิจสปาในจังหวัดภูเก็ต การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสัมภาษณ์กลุ่มย่อย เป็นเครื่องมือหลักในการเก็บข้อมูล โดยผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้มีความรู้โดยตรงกับสถาปัตยกรรม ศิลปวัฒนธรรม และธุรกิจสปาในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งประกอบไปด้วย กลุ่มธุรกิจสปาเอกชน กลุ่มธุรกิจสปาท้องถิ่น กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มนักวิชาการ และกลุ่มหน่วยงานการท่องเที่ยว ทั้งหมด 28 คน โดยมีการสังเกตตรง การลงพื้นที่ศึกษาสถาปัตยกรรมและศึกษาศิลปวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต การลงพื้นที่ของธุรกิจสปาในเขต 3 อำเภอ และการวิเคราะห์เอกสาร เป็นเครื่องมือเสริมในการวิเคราะห์และสรุปผลข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมของจังหวัดภูเก็ตมีความหลากหลายอันเป็นผลมาจากความหลากหลายทางวัฒนธรรมในจังหวัดภูเก็ต อย่างไรก็ตาม สามารถจำแนกได้โดยกว้าง 4 ประเภท คือ เรือนไทย-พื้นบ้านทางใต้ ที่อยู่อาศัยแบบไทยมุสลิม สถาปัตยกรรมจีนผสมอาณานิคม และสถาปัตยกรรมตึกแถว ทั้งนี้ เป็นผลให้โครงสร้างทางกายภาพของธุรกิจสปามีความหลากหลายทางโครงสร้างกายภาพเช่นกัน โดยมีองค์ประกอบอื่นที่ส่งผลต่อการออกแบบทางสถาปัตยกรรม เช่น อิทธิพลของเจ้าของกิจการท้องถิ่น อารยธรรมในพื้นที่และธรรมชาติในพื้นที่ โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้เสนอแนะการสร้างลักษณะเด่นทางกายภาพของธุรกิจสปาไว้ 2 ลักษณะ ซึ่งจำแนกระหว่างลักษณะตามหน้าที่ (Function) และลักษณะทางความรู้สึก (Emotion) โดยทั้งสองลักษณะมีองค์ประกอบย่อย คือ ด้านธรรมชาติ ด้านกายภาพ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านเทคโนโลยี ด้านความงาม และด้านความรู้สึก โดยผลการศึกษาชี้นำให้ผสมผสานองค์ประกอบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับแนวคิด 3 แนวคิด คือ ท้องทะเลอันดามัน ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และการบูรณาการความหลากหลายทางวัฒนธรรมของจังหวัดภูเก็ต เพื่อพัฒนาให้เป็นลักษณะเด่นในโครงสร้างสถาปัตยกรรมอันจะก่อให้เกิดลักษณะเด่นที่จดจำง่าย เหมาะสม และเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันทั้งระดับชาติและสากล
Article Details
All submitted articles are subject to academic validation by qualified experts (peer review). The opinions expressed in each article of this publication are those of the authors themselves. The editorial board holds no responsibilities on them and does not reserve the copyright for academic use with the condition that the reference of their origin is cited.
References
กรมการท่องเที่ยว. (2560). แผนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์พัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศ ปี พ.ศ.2560 - 2564. กรุงเทพฯ: กองวิชาการท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2558). พลังนวัตกรรมสู่ความเป็นเลิศธุรกิจไทย. ต้นสายปลายทางธุรกิจ, 7(31), 6-9.
กระทรวงสาธารณสุข. (2547). คู่มือผู้ดำเนินการสปาเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). Tourism situation. TAT Review, 2 (เมษายน - มิถุนายน), 18-25.
กิตติพงษ์ เทพจิตรา. (ม.ป.ป.). ปัญหาการอนุรักษ์ด้านสถาปัตยกรรมในพื้นที่ฝั่งอันดามันท่ามกลางกระแสการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจการท่องเที่ยว. จาก https://www2.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9540000102325
ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์. (2546). มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชูพงษ์ ทองคำสมุทร. (2555). ฮวงจุ้ยกับการออกแบบสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธงชัย โรจนกนันท์. (2553). วิกฤติภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงกับการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม. จาก https://services.dpt.go.th
ธิดาสิริ ภัทรากาญจน์. (ม.ป.ป.). การประยุกต์รูปทรงธรรมชาติในการออกแบบงานสถาปัตยกรรม. จาก www.ghbhomecenter.com/journal/download.php?file
นภารัตน์ ศรีละพันธ์. (2554). เขตการค้าเสรีอำเซียนไทย-จีน: ธุรกิจสปา / ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสปาเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิรันดร ทองอรุณ. (2553). การจัดการองค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรมในสภาพแวดล้อมเสมือนของมรดกโลก อยุธยาเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปิงคล์สวัสดิ์ อัมระนันทน์. (2545). สไตล์อันดามัน อารยธรรมคาบสมุทรสยาม. กรุงเทพฯ: ก้าว คอมมิวนิเคทีฟ จำกัด.
พรพรรณ วีระปรียากูร. (2550). แนวทางการออกแบบและการบริหารจัดการงานสถาปัตยกรรมเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
เลอสม สถาปิตานนท์. (2555). องค์ประกอบ: สถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2536). พัฒนาการแนวความคิดและรูปแบบของงานสถาปัตยกรรม อดีตปัจจุบัน และอนาคต. กรุงเทพฯ: สมาคมสถาปนิกสยาม.
สถาบันพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2551). สรุปข้อมูลธุรกิจสปา 2551. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์.
สถาปนา กิตติกุล. (2551). พุทธศาสนภูมิสถาปัตยกรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงศาสนา กรณีศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมคิด จิระทัศนกุล. (2533). พระอุโบสถและพระวิหารในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
สมบัติ ประจญศานต์, ดนัย นิลสกุล, และ จักรกริช พรหมราษฎร์. (2551). แนวทางการจัดการภูมิสถาปัตยกรรมทางการท่องเที่ยวในเขตอีสานใต้ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สำนักงานจังหวัดภูเก็ต. (2560). แผนพัฒนาจังหวัดภูเก็ต (พ.ศ. 2557-2560) ฉบับทบทวนใหม่ (รอบปี พ.ศ. 2560). ภูเก็ต: สำนักงานจังหวัดภูเก็ต กระทรวงมหาดไทย.
สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. (2536). เรือนไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ .
สุชนนี เมธิโยธิน. (ม.ป.ป.). กลยุทธ์เพื่อการแข่งขัน. จาก https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/july_sep_12/pdf/aw17.pdf
สุภางค์ จันทวานิช. (2547). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุวิทย์ เจริญศุภกุล. (2521). องค์ประกอบสถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ: อักษรสัมพันธ์.
อรไท ครุธเวโช, นิติพงษ์ ทนน้ำ, วรพจน์ ตรีสุข, และ พฤฒิยาพร มณีรัตน์. (2554). โครงการพัฒนาและจัดการการท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดภูเก็ต กรณีศึกษาชุมชนบ้านคอเอน และชุมชนบ้านลิพอนหัวหาร-บ่อแร่. ภูเก็ต: องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต.
Hall, M. C. (2008). Tourism planning: Policies, processes and relationships (2nd ed.). Harlow: Pearson Education Limited.
Lamoureux. K. M. (2011). Success factors of cross-sector volunteer tourism partnerships involving U.S. federal land agencies (Doctoral dissertation). The George Washington University, DC.
The International Spa Association. (2013). ประเภทของสปา. Retrieved from https://www.experienceispa.com