สังคมศึกษาและการสร้างความเป็นพลเมืองดีภายใต้ระบอบการเมือง การปกครองไทย

Main Article Content

วรุตม์ อินทฤทธิ์

Abstract

Social studies is the integrated study of relationships between humans, humans and environments, and humans and political institutions. In the Thai context, the government organizes and specifies the contents of social studies in order to cultivate students’ knowledge, attitudes, social values, and desirable attributes for developing into good citizens. Accordingly, social studies instructions depend on the change of political regimes and the government’s goals. After the Siamese revolution of 1932, which changed the system of government from an absolute monarchy to a constitutional monarchy, all Thai governments have tried to foster democratic citizens. Whenever Thailand has been under controlled of a junta, conflicts between the governments and democratic citizens can and have developed. These days, the junta emphasized developing patriotic citizens in contrast to the international democracies. These are challenges for social studies teachers. They need to know how to teach students to be good Thai citizens who conform to international standards of democracies, respect differences, and participate in a democratic form of government.


 


บทคัดย่อ


สังคมศึกษาเป็นการศึกษาแบบบูรณาการความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม และมนุษย์กับสถาบันต่าง ๆ ในสังคม โดยรัฐบาลได้กำหนดเนื้อหาสาระในสังคมศึกษาใช้เป็นเครื่องมือในการปลูกฝังความรู้ ทัศนคติ ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อสร้างความเป็นพลเมืองดีในแบบที่รัฐต้องการ การเรียนการสอนสังคมศึกษาจึงขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองและเป้าหมายทางการเมือง ผู้มีอำนาจทางการเมืองเป็นสำคัญ และจากการศึกษาพัฒนาการของสังคมศึกษาในการสร้างความเป็นพลเมืองดีภายใต้การเมืองการปกครองไทยตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน พบว่า รัฐบาลทุกชุดได้ปลูกฝังความเป็นพลเมืองดีประชาธิปไตยมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่ระบอบการเมืองการปกครองไม่ได้เป็นประชาธิปไตยอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างรัฐกับพลเมืองดีประชาธิปไตยเหล่านั้นได้ ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาความเป็นพลเมืองดีแบบชาตินิยม ซึ่งย้อนแย้งกับความเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยของประชาคมโลก จึงเป็นความท้าทายสำคัญของครูสังคมศึกษาที่จำเป็นต้องรู้วิธีการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษา เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นพลเมืองดีของไทยควบคู่ไปกับความเป็นพลเมืองดีของสังคมโลกที่ต้องมีการเคารพความแตกต่าง และพร้อมมีส่วนร่วมในระบอบการปกครองประชาธิปไตยต่อไป

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2491). หลักสูตรเตรียมอุดมศึกษา พ.ศ. 2491. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

________________. (2493ก). หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ. 2493. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

________________. (2493ข). หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2493. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

________________. (2498). หลักสูตรเตรียมอุดมศึกษา พ.ศ. 2498. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

________________. (2505). หลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.ศ. ๑-๒-๓) พ.ศ. 2503 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กุลลดา เกษบุญชู มี๊ด. (2552). ความขัดแย้งทางการเมืองของไทยก้าวข้ามไปให้พ้นพลวัตภายใน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ 14 ตุลา.

จรูญ คูณมี. (2520). การสอนวิชาสังคมศึกษา. กรุงเทพฯ: ประสานการพิมพ์.

จุมพล หนิมพานิช. (2548). พัฒนาการทางการเมืองไทย อำมาตยาธิปไตย ธนาธิปไตย หรือประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดลฤดี สุจิตตานนท์รัตน์. (2528). พัฒนาการการสอนสังคมศึกษาในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ประจักษ์ ก้องกีรติ. (2548). และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ การเมืองวัฒนธรรมของนักศึกษาและปัญญาชนก่อน 14 ตุลาฯ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประเสริฐ กิติรัตน์ตระการ. (2526). การวิเคราะห์เนื้อหาหลักสูตรวิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นพุทธศักราช 2521 เกี่ยวกับลักษณะความเป็นพลเมืองดี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ปิยนาถ บุนนาค. (2550). ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่: ตั้งแต่การทำสนธิสัญญาบาวริง ถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475. (10 ธันวาคม 2475). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 49. หน้า 529-551.

ลาวัณย์ วิทยาวุฑฒิกุล. (2533). การสอนสังคมในโรงเรียนมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2553). การเมืองการปกครองของไทย (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ 922/2561 เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างเวลาเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2). พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟฟิค.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2557ก). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

__________. (2557ข). แนวทางการจัดการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมหน้าที่พลเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

เสน่ห์ จามริก. (2540). การเมืองไทยกับพัฒนาการรัฐธรรมนูญ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

เอกชัย ภูมิระรื่น, และ นันทพร รอดผล. (2560). การสร้างพลเมืองดีในแบบที่รัฐต้องการก่อนการปฏิวัติ พ.ศ. 2501. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 1590-1603.

Bastow, S., Dunleavy, P., & Tinkler, J. (2014). The impact of the social sciences: How academics and their research make a difference. London: SAGE.

Glaeser, E. L., Ponzetto, G. A. M., & Shleifer, A. (2007). Why does democracy need education?. Journal of Economic Growth, 12(2), 77-99. DOI 10.1007/s10887-007-9015-1.

Jatuporn, O. (2016). Education for enculturating the “Thainess” ideology: Decolonizing the Siamese colonial discourse in the social studies curriculum. Journal of International Social Studies, 6(2), 130-140.

Jho, D. (2006). The making of social studies education in Korea: Implications for citizenship education. Citizenship Teaching and Learning, 2(2), 22-36.

Klein, A., Kiranda, Y., & Bafaki, R. (2011). Concepts and principles of democratic governance and accountably: A guide for peer education. Uganda: Konrad-Adenauer-Stiftung Uganda office.

Merryfield, M. M., & Subedi, B. (2006). Decolonizing the mind for world-centered global education. The social Studies curriculum: Purpose, problem, and possibilities. New York: SUNY Press.

NCSS. (1992). What is social studies?. Retrieved from https://www.learner.org/workshops/socialstudies/pdf/session8/8.WhatIsSocialStudies.pdf

Nilsen, M. (2012). Negotiating Thainess: Religious and national identities in Thailand’s Southern Conflict. Sweden: Lund University.

Paivandi, S. (2012). The future of Iran: Educational reform. Education in the Islamic Republic of Iran and Perspectives on Democratic Reforms London: Legatum Institute.

Pires, A. E. (1970). The teaching of social studies in primary teacher training institutions in Asia. Bangkok: UNESCO regional Office for Education in Asia.

Ross, E. W., Mathison, S., & Vinson, K. D. (2013). Social studies education and standards-based education reform in north america: Curriculum standardization, high-stakes testing, and resistance. Revista Latino americana de Estudios Educativas, 1(10), 19-48.

UNESCO. (2015). Global citizenship education: Topics and learning objectives. France: UNESCO