ปัจจัยของนักบัญชียุคดิจิทัลที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการในประเทศไทย

Main Article Content

กมลภู สันทะจักร์
กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์

Abstract

This research aims to study the factors that affect the work efficiency of digital accountants who work in Thai government offices. The heads of finance and the accounting department were samples of the study. This research aims to study the factors that affect the work efficiency of digital accountants who work in Thai government offices. The heads of finance and the accounting department were samples of the study.  This research is quantitative, employing 376 questionnaires as a tool for data collection.  The data were analyzed based on percentage, mean and standard deviation by the usage of statistical software packages and Multiple Linear Regression for hypothesis testing. The research found that most of the heads were females, aged between 25 to 35 years, holding a bachelor’s degree, and with more than 15 years of work experience. Professional account skills, information technology, English professional, ethics laws related to accounting and analysis and problem-solving at the highest level. Hypothesis testing showed that all the digital accountants’ knowledge and skills about the accounting profession, English language proficiency, knowledge of legal issues related to accounting, and skills in problem analysis and solutions have a positive influence on efficiency. However, an exception was professional ethics, which has a negative influence on efficiency.


 


บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยของนักบัญชียุคดิจิทัลที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หัวหน้าฝ่ายการเงินและบัญชี ของหน่วยราชการในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 376 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ผู้วิจัยได้นำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า หัวหน้าฝ่ายการเงินและบัญชี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุมากกว่า 25 - 35 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี และมีประสบการณ์ทำงาน มากกว่า 15 ปี มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยของนักบัญชียุคดิจิทัล ได้แก่ ด้านความรู้ทางวิชาชีพบัญชี ด้านทักษะทางวิชาชีพบัญชี ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านภาษาอังกฤษ ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบัญชี และด้านการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยของนักบัญชียุคดิจิทัล ด้านความรู้ทางวิชาชีพบัญชี ด้านภาษาอังกฤษ และด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบัญชี มีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน ยกเว้นด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ มีอิทธิพลเชิงลบต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2559). ความสำคัญของนักบัญชีต่อธุรกิจในยุคระบบเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล. จาก https://www.53ac.com/ความสำคัญของนักบัญชี/

จารุณี อภิวัฒน์ไพศาล. (2555). ปัจจัยที่ใช้ในการพยากรณ์ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานบัญชีกลุ่มธุรกิจบริการในประเทศไทย. จาก https://www.jap.tbs.tu.ac.th/files/Article/Jap21/Full/Jap21 Jarunee.pdf

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 10). นนทบุรี: ไทยเนรมิตกิจอินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.

เฉลิมขวัญ ครุธบุญยงค์. (2557). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์สำหรับอุตสาหกรรมญี่ปุ่นในประเทศไทย. จาก https://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/article_detail.php?ArticleID=152375

ณัฏฐ์รมณ ศรีสุข, และ กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2560). สมรรถนะทางการบัญชีสมัยใหม่ที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีและกรุงเทพมหานคร. จาก https://www.spu.ac.th/uploads/contents/20170729111640.pdf

ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2560). ระบบราชการ 4.0 กับ การสร้างนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการภาครัฐ. จาก https://www.dpe.go.th/manual-files-401291791810

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นงลักษณ์ ศิริพิศ, สุชญา มานวกุล, และ ปฐมาภรณ์ คำชื่น. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของนักบัญชีไทยกับการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน (AEC) กรณีศึกษาสำนักงานบัญชีที่ผ่านการรับรองคุณภาพจากสำนักงานบัญชี ตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีในกรุงเทพมหานคร. จาก https://www.hu.ac.th/Symposium2014/proceedings/data/09_Human%20and%20Social/09_Human%20and%20Social-28.pdf

พัทธนันท์ เพชรเชิดชู. (2560). นักบัญชียุคดิจิทัล. จาก https://ciba.dpu.ac.th/นักบัญชียุคดิจิทัล/

พิมพรรณ กวางเดินดง. (2542). ความสัมพันธระหวางความเปนผูนํา การมองในแงดี และความสําเร็จในการทํางานของวิศวกรโรงงานอุตสาหกรรม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ภูริชญา มัชฌิมานนท์. (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ ความฉลาดทางอารมณ์ และความเกี่ยวข้องผูกพันกับงานกับการรับรู้ความสำเร็จในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ไมตรี สุนทรวรรณ. (2553). การวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์. จาก https://www.gotoknow.org/ posts/386617

แสงเดือน วนิชดํารงค์ศักดิ์. (2555). การรับรู้ภาพลักษณ์และคุณภาพบริการ: กรณีศึกษา ธนาคารเกียรตินาคินสาขากรุงเทพมหานครและปริมณฑล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

สรัชนุช บุญวุฒิ, และ ไพฑูรย์ อินต๊ะขัน. (2559). การศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะของนักบัญชียุคใหม่ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. จาก https://www.mgts.lpru.ac.th/ journal/index.php/mgts/ article/download/279/117

สมใจ ลักษณะ. (2543). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.

สมบูรณ์ กุมาร, และ ฐิตินันท์ กุมาร. (2557). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการในจังหวัดน่าน. จาก https://ejournals.swu.ac.th/ index.php/swurd/article/viewFile/5045/4803

อนงค์วรรณ อุประดิษฐ์. (2561). ความสัมพันธ์ของจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในจังหวัดลำปาง. จาก https://www.arts.kmutnb.ac.th/file_article/1541737913.pdf

อภิวัฒน์ จันกัน. (2544). การเปรียบเทียบบุคลิกภาพของพนักงานธนาคารระดับหัวหน้างานที่ประสบความสำเร็จในการทำงานสูงและต่ำ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

อลงกรณ์ มีสุทธา, และ สมิต สัชฌุกร. (2545). การประเมินผลการปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

Montano, J. L. A., Donoso, J. A., Hassall, T., & Joyce, J. (2001). Vocational skills in the accounting professional profile: The Chartered Institute of Management Accountants (CIMA) employers’ opinion. Accounting Education, 10(3), 299-313.

Black, K. (2006). Business statistics for contemporary decision making (4th ed.) New York: John Wiley & Sons.

Uyar, A., & Gungormuş, A. H. (2011). Professional knowledge and skills required for accounting majors who intend to become auditors: Perceptions of external auditors. Retrieved from https://www.berjournal.com/ wp-content/plugins/downloads-manager/upload/BERJ%202(3)11%20 Article%203%20pp.33-49.pdf