ประเพณีแซนโฎนตา: วัฒนธรรมประเพณีของชาวไทยเชื้อสายเขมร จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

ยโสธารา ศิริภาประภากร

Abstract

 


The traditional Donta of Thai-Khmer people in Surin Province is as that of Thai-Khmer people who live in the south area of the Northeast (Isan). Both share similarities in several aspects. They believe in the spirits of ancestors and that the world of the dead would open and allow the passing ancestors to receive merit offered by their living ancestors at home. The spirits may feel tired after such a long journey home. Therefore, Thai-Khmer people’s basic assumption of the belief goes that they shall organize a religious ritual regarding welcoming the ancestors home. The ritual involves serving several kinds of food and offering cloth, and performing Buddhist ritual of merit-making.  The Donta ritual is observed during the tenth month of the year and has been practiced since ancient times. It is a preservation of their main culture which has been promoted lately. The ritual builds relationships among family and relatives and honors the deceased. When outsiders witness the Donta tradition, they felt satisfied with such a ritual: Many of them were beaming and joyful. That showed the sincere interest of nonlocals in the local tradition. According to Thai-Khmer people, the ritual is important and the practice preserves local wisdom inherited from their ancestors.


 


บทคัดย่อ


ประเพณีแซนโฎนตาของชาวไทยเชื้อสายเขมร จังหวัดสุรินทร์ เป็นวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายเขมรที่อาศัยอยู่ในภาคอีสานตอนใต้ โดยมีลักษณะความเชื่อพิธีกรรมคล้ายคลึงกันอยู่ ประเพณีแซนโฎนตามีความเชื่อต่อดวงวิญญาณบรรพบุรุษ ซึ่งเชื่อกันว่าทางยมโลกจะเปิดให้ดวงวิญญาณบรรพบุรุษนี้มารับส่วนบุญกับลูกหลาน ดังนั้น การเดินทางมานั้นอาจเหนื่อยล้ามาก ฐานคติความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายเขมรจะจัดพิธีกรรมรับดวงวิญญาณบรรพบุรุษด้วยการจัดเครื่องเซ่นไหว้ ด้วยอาหารคาวหวาน เสื้อผ้า และมีพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับประเพณีนี้ คือ การทำบุญอุทิศให้แก่ดวงวิญญาณโดยมีพิธีกรรมทางศาสนาพุทธด้วย วัฒนธรรมประเพณีแซนโฎนตาที่ถือปฏิบัติมาแต่โบราณ เป็นการรักษาไว้ซึ่งประเพณีที่สำคัญ ที่ยังคงปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน เป็นคุณค่าในการส่งเสริมความผูกพันระหว่างครอบครัวและญาติพี่น้อง และยังเป็นการรำลึกถึงบุญคุณของบุพการี แม้จะล่วงลับไปแล้ว เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที พิธีกรรมที่ปรากฏขึ้นเป็นปรากฏการณ์ที่สามารถเห็นได้ทุก ๆ ปีในช่วงเดือนสิบ เมื่อคนต่างถิ่นได้มาพบเห็นประเพณีแซนโฎนตาก็เกิดความประทับใจในงานบุญดังกล่าว คือ สภาพที่คนทั้งหลาย มีความยิ้มแย้มแจ่มใสรื่นเริง ซึ่งเป็นการแสดงออกต่อคนต่างถิ่นอย่างจริงจัง เพราะชาวไทยเชื้อสายเขมร ถือว่าจะยากดีมีจนอย่างไร ก็ต้องทำให้บรรพชนของตนเอง จึงสมควรที่จะอนุรักษ์ให้เป็นมรกดทางภูมิปัญญาของบรรพบุรุษสืบไป

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic Article)

References

ชื่น ศรีสวัสดิ์. (2531). ความเชื่อของไทย-เขมร ในเขตอีสานใต้. ม.ป.ท.: โครงการสนับสนุนการวิจัยทางวัฒนธรรม มูลนิธิเจทส์ เอช ดับเบิลยู ทอมป์สัน.

ธวัช ปุณโณทก. (2536). ความเชื่อพื้นบ้านอันสัมพันธ์กับวิถีชีวิตในสังคมอีสาน. ใน วัฒนธรรมพื้นบ้าน: คติความเชื่อ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บรรพต เปรมชู. (2522). พิธีโดนตา สมบัติอีสานใต้. ม.ป.ท.

ประทีป แขรัมย์. (2535). พิธีกรรมมะม็วดของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทย-เขมร: ศึกษากรณีบ้านตะโกราย ตำบลบ้านบัว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม, มหาสารคาม.

พีระศักดิ์ วรฉัตร. (2530). โครงสร้างอำนาจของชุมชนชาวไทยที่พูดภาษาเขมรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: ศึกษากรณีตำบลพรหมเทพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม, มหาสารคาม.

เพ็ญศรี ดุ๊ก, ไพฑูรย์ สินลารัตน์, ปิยนาถ บุญนาค, และ วราภรณ์ ทินานนท์. (2536). วัฒนธรรมพื้นบ้าน: คติความเชื่อ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระครูโสภณวัยวุฒิ. (2550). คู่มือชาวบ้าน. สุรินทร์: ศิริรัตน์ออฟเซ็ทการพิมพ์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2542). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: สิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.

พระวรศักดิ์ ปํญญาวุฑโฒ (ภาสดา). (2551). ประเพณีทำบุญหมู่บ้านของชาวไทยเขมร: กรณีศึกษาบ้านโคกใหม่ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

ภูมิจิต เรืองเดช. (2548). ความเชื่อและการนับถือผีในกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, สุรินทร์.

มงกุฎ แก่นเดียว. (2533). แซมซายฉบับพิเศษ รวมประเพณีและพิธีกรรมในจังหวัดสุรินทร์. บุรีรัมย์: เรวัตรการพิมพ์.

มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ. (2531). พจนานุกรม บาลี-ไทย-อังกฤษ ฉบับภูมิพโลภิกขุ. กรุงเทพฯ: ภูมิพโลภิกขุ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน.กรุงเทพฯ: สิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร). (2548). สากลศาสนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย.

สำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดบุรีรัมย์. (2553). เอกสารรายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนานิเวศน์วัฒนธรรมลุ่มน้ำ โขง ชี มูล พื้นที่ตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์: ม.ป.ท.

สุเมธ คงสวัสดิ์. (2531). ความเชื่อของชาวบ้านพลวง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สุเมธ เมธาวิทยกูล. (2532). สังกัปพิธีกรรม. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งส์ เฮ้าส์.

สุรชัย รัตนพนาวงษ์. (2549). การศึกษาคำศัพท์ภาษาเขมรสุรินทร์ในประเพณีแซนโฎนตา (วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

เสถียร โกเศศ. (2549). ผีสางเทวดา. กรุงเทพฯ: เอเธนส์บุ๊คส์.

อัษฎางค์ ชมดี. (2553). ร้อยเรื่องเมืองสุรินทร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท.

อุดม เชยกีวงศ์. (2547). ปฏิทินประเพณี 12 เดือน. กรุงเทพฯ: ภูมิปัญญา.