การพัฒนากลยุทธ์เพื่อโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

อภิวรรณ ยอดมงคล
วัน เดชพิชัย
สุจิตรา จรจิตร

Abstract

This research aims to 1) develop strategies for developing secondary schools located in the Southern Economic Corridor (SEC) and 2) evaluate the strategies. The research phase was divided into two parts. The data was collected by synthesizing strategic plans of 68 secondary schools located in the SEC, in-depth interviews, and a strategy assessment form. The research found that the strategies consisted of a vision, a mission, goals, strategic issues, strategy, indicators, and measures. There were 14 strategies: 1) Increase the opportunity of the learners all over the service area to be educated with equity and quality consistent with a multicultural society; 2) Accelerate the quality of all learners to be standardized using various learning processes and consistent with a multicultural society; 3) Promote organizing student development activities to create quality knowledge and the necessary skills for multicultural society and keeping up with social security-based change; 4) Promote the integration of art, culture, traditions, local wisdom, and natural learning resources with teaching and learning consistent with a multicultural society; 5) Promote and develop learning resources and learning materials to be more standardized, make them available to all learners that are consistent with multicultural society; 6) Promote and develop learners with specific expertise and excellence for the quality and quantity required by local labor market; 7) Enhance pride and loyalty to the nation, religion, monarchy, and promote peaceful co-existence in multicultural society; 8) Cultivate morality and ethics that emphasizes self-discipline, world citizenship, and living with the self-sufficiency philosophy for a stable society and economy; 9) Enhance the competency of administrators and teachers to be more professional; 10) Develop a quality education management system that is consistent with multicultural society; 11) Develop schools to be learning organizations that are consistent with multicultural society; 12) Mobilize resources to support educational quality development for more effectiveness; 13) Encourage participation between schools, communities, and related agencies involved in educational management; and 14) Maintain life and property security of learners, teachers, educational personnel, and educational institutions. All the strategies were compared to the assessment criteria and are consistent, appropriate, achievable, and useful.


บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากลยุทธ์เพื่อพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) ประเมินกลยุทธ์เพื่อพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดำเนินการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ รวบรวมข้อมูลโดยการสังเคราะห์เอกสารแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 68 โรงเรียน ทำการสัมภาษณ์เชิงลึก และการใช้แบบประเมินกลยุทธ์ ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์เพื่อพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ประเด็นกลยุทธ์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัดและมาตรการ โดยมีกลยุทธ์ 14 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) เพิ่มโอกาสของผู้เรียนทุกคนในเขตบริการให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และมีคุณภาพสอดคล้องกับสังคมพหุวัฒนธรรม 2) เร่งพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกคนให้มีมาตรฐานด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับสังคมพหุวัฒนธรรม 3) ส่งเสริมการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มให้เกิดความรู้อย่างมีคุณภาพ และมีทักษะที่จำเป็นในสังคมพหุวัฒนธรรม รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงบนพื้นฐานความมั่นคงทางสังคม 4) ส่งเสริมการบูรณาการศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติกับการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับสังคมพหุวัฒนธรรม 5) ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้มีมาตรฐาน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสังคมพหุวัฒนธรรม 6) ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศเฉพาะด้านให้มีคุณภาพและปริมาณสัมพันธ์กับความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่ 7) เสริมสร้างความภูมิใจและความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม 8) ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ที่เน้นความมีวินัยในตนเอง ความเป็นพลเมือง พลโลก และการดำรงตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความมั่นคงทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ 9) เสริมสร้างสมรรถนะของผู้บริหารและครูให้มีความเป็นมืออาชีพ 10) พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีคุณภาพสอดคล้องกับสังคมพหุวัฒนธรรม 11) พัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้สอดคล้องกับสังคมพหุวัฒนธรรม 12) ระดมทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ 13) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา และ 14) รักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้เรียน ครู บุคลากร และสถานศึกษา การประเมินกลยุทธ์เพื่อพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า กลยุทธ์ทั้งหมดเมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมิน มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ณัฐกรณ์ สารปรัง. (2557). การพัฒนากลยุทธ์การจัดการความรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และ 2 (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, กำแพงเพชร.

นันทิยา หุตานุวัตร, และ ณรงค์ หุตานุวัตร. (2551). คิดกลยุทธ์ด้วย SWOT (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประจักสิน บึงมุม. (2558). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการระดมทรัพยากรเพื่อใช้ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 1 และเขต 2 (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, กำแพงเพชร.

พัทธิพงศ์ พลอาจ. (2555). กลยุทธ์การพัฒนาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดกำแพงเพชรให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, กำแพงเพชร.

ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้. (2560). แผนยุทธศาสตร์การศึกษา เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). ม.ป.ท.: กระทรวงศึกษาธิการ.

สงวน อินทร์รักษ์. (2554). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเวลาเรียนให้ครบตามที่กำหนดในหลักสูตรของสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

สมชาย ภคภาสวิวัฒน์. (2553). การบริหารเชิงกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พรินท์ติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15. (2560). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2559-25560. นราธิวาส: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). นโยบายปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟฟิค.

สุธาสินี บุญญาพิทักษ์. (2558). โครงการนวัตกรรมการพัฒนานักศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกัน (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

สุพาณี สฤษฎ์วานิช. (2544). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2552). สภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อภิวรรณ ยอดมงคล, และ สุจิตรา จรจิตร. (2559). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 14(1), 15-26.

Banks, J. A. (1994). An introduction to multicultural education. Boston: Allyn and Bacon.

Marquardt, M. J. (2002). Building the Learning organization mastering the 5 elements for corporate learning (2 nd ed.). Palo, CA: Davies–Black.