กรอบคิดงอกงามของครูในการพัฒนาผู้เรียน: การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา
Main Article Content
Abstract
This research had two objectives: 1) to study the meaning and background of teachers’ growth mindset for learners’ development in a Thai social context and 2) to study teachers’ characteristics. Three different groups of people who are involved with the educational field were targeted: 1) teachers with formal education, 2) teachers with informal education, and 3) teacher trainers. The data was collected from 10 key informants by the use of in-depth interviews and analyzed along with content analysis and triangulation techniques. The research revealed the meaning and seven characteristics as follows: 1) the belief that a teacher’s intelligence and competency can be developed, 2) self-understanding and self-acceptance, 3) problem-solving with creativity, 4) a teacher’s personality, 5) identifying learner-based goals 6) the belief that a leaner’s intelligence and competency can be developed, and 7) the belief in human value.
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาคำจำกัดความและที่มาของกรอบคิดงอกงามในการพัฒนาผู้เรียนในบริบทสังคมไทย และ 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของครูที่มีกรอบคิดงอกงามในการพัฒนาผู้เรียน ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก และใช้กระบวนการศึกษาแบบปรากฏการณ์วิทยา กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับวงการการศึกษา 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มครูที่จัดการศึกษาในระบบ 2) กลุ่มครูที่จัดการศึกษานอกระบบ และ 3) กลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการผลิตและพัฒนาครู โดยเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 10 คน ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและมีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาจากการสัมภาษณ์ และใช้การตรวจสอบแบบสามเส้า ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงความหมายและคุณลักษณะของครูผู้มีกรอบคิดงอกงามในการพัฒนาผู้เรียนในบริบทสังคมไทย 7 คุณลักษณะ ได้แก่ 1) ความเชื่อในศักยภาพทางปัญญาและความสามารถของครูว่าพัฒนาได้ 2) การเข้าใจและยอมรับในตนเอง 3) การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 4) บุคลิกภาพความเป็นครู 5) การกำหนดเป้าหมายเพื่อผู้เรียน 6) ความเชื่อในศักยภาพทางปัญญาและความสามารถของผู้เรียนว่าพัฒนาได้ และ 7) ความเชื่อในคุณค่าของมนุษย์
Article Details
All submitted articles are subject to academic validation by qualified experts (peer review). The opinions expressed in each article of this publication are those of the authors themselves. The editorial board holds no responsibilities on them and does not reserve the copyright for academic use with the condition that the reference of their origin is cited.
References
ธนา นิลชัยโกวิทย์, และ อดิสร จันทรสุข. (2559). ศิลปะกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง: คู่มือกระบวนกรจิตปัญญาศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: โครงการผู้นำแห่งอนาคต คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธนดี สุริยะจันทร์หอม. (2561). ผลการใช้รูปแบบ SPASA เพื่อเสริมสร้างโกรว์ธ มายด์เซต สำหรับนักศึกษาหลักสูตรวิชาชีพครู. วารสารราชพฤกษ์, 16(3), 56-63.
พัชรา พุ่มพชาติ. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
มิลินทรา กวินกมลโรจน์. (2557). การวิจัยและพัฒนากระบวนการชี้แนะที่อิงทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับชุดความคิดด้านการจัดการเรียนการสอนของครูประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
เรืองวิทย์ นนทภา. (2559). คุณลักษณะที่ผู้เรียนประทับใจ: ต้นแบบของครูดี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 10(2), 142-153.
วิเชียร ไชยบัง. (2561). จิตศึกษาพัฒนาปัญญาภายใน (พิมพ์ครั้งที่ 5). บุรีรัมย์: โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา.
สุขวสา ยอดกมล. (2551). เกี่ยวกับสิ่งที่ครูควรรู้. กรุงเทพฯ: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาการมัธยมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุชีรา วิบูลย์สุข, และ นิตยาภรณ์ บุญสวัสดิ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักศึกษาแพทย์ระดับชั้นปรีคลินิก. เวชบันทึกศิริราช, 8(2), 70-76.
สุรวิทย์ อัสสพันธุ์. (2556). ผลของโครงสร้างเป้าหมาย ความเชื่อเกี่ยวกับความฉลาด และความมั่นใจในความฉลาดของตนเองที่มีต่อเป้าหมายเชิงสัมฤทธิ์และความมุ่งมั่นในการเรียนรู้เชิงพฤติกรรมของนิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ (ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
เอื้อมพร หลินเจริญ. (2554). การวิเคราะห์และนำเสนอผลในงานวิจัยเชิงคุณภาพ. จาก http://www.edu.tsu.ac.th/major/eva/files/journal/DataAnalysis.pdf
Diekelman, N., Allen, D., & Taner, C. (1989). The NLN’s criteria for appraisal of baccalaureate programs: A critical bermeneulic analysis. New York: National League for Nursing.
Dweck, C. S. (1999). Self-theories: Their role in motivation, personality, and development. New York: Psychology Press.
__________ (2006). Mindset: The new psychology of success. New York: RandomHouse.
Gutshall, C. A. (2013). Teachers’ mindsets for students with and without disabilities. Psychology in the Schools, 50(10), 1073-1083.
Isaksen, S. G., & Treffinger, D. J. (2004). Celebrating 50 years of reflection practice: Versions of Creative problem solving. Journal of Creative Behavior, 38(2), 75-101.
Mercer, S., & Ryan, S. (2009). A mindset for EFL: Learners’ beliefs about the role of natural talent. ELT Journal, 64(4), 436–444.
Mezirow, J. (2000). Learning to think like an adult: Core concepts of transformation theory. In J. Mezirow & Associates (Eds.), Learning as transformation (pp. 3-33). San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Rheinberg, F. (2001, April). Teachers reference-norm orientation and student motivation for learning. In AERA Conference. Michigan State University, Seattle.