แนวคิดการศึกษาของไอน์สไตน์ผ่านการอ่าน “ว่าด้วยการศึกษา”
Main Article Content
บทคัดย่อ
การอ่านบทความของไอน์สไตน์เรื่อง “On Education” ซึ่งเป็นบทความที่เจ้าของแนวคิดมีความเข้าใจและการหยั่งรู้ที่ลึกซึ้ง รวมทั้งความปรารถนาดีและอุดมการณ์อันสูงส่ง หากอ่านแบบผิวเผินอาจจะก่อให้เกิดการมีอคติส่วนตัวของผู้อ่านเองและการเข้าใจที่ไม่สามารถรับรองได้ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงความเข้าใจของผู้อ่านในการอ่านบทความดังกล่าวของไอน์สไตน์ โดยใช้วิธีวิจัยการอ่านข้อความเชิงวิเคราะห์ ผ่านการประยุกต์ใช้ทูลมินโมเดลและทฤษฎีการอ่านของเคอร์แลนด์ ผลการวิจัยพบว่า บทความเรื่อง “On Education” สามารถสรุปองค์ประกอบของแนวคิดด้านการศึกษาของไอน์สไตน์ ได้ดังนี้ 1) ไอน์สไตน์มั่นใจว่าแนวคิดของเขาเกี่ยวกับการศึกษาที่แสดงเป็นคำพูดในงานเฉลิมฉลองมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 300 นั้น มีความน่าเชื่อถือเช่นเดียวกับแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาในอดีต 2) คนรุ่นใหม่ควรได้รับการอบรมด้านจิตใจ 3) การ
กระตุ้นผู้เรียนควรดำเนินการไปพร้อมกับการดูแลเอาใจใส่ 4) การฝึกอบรมด้านจิตใจมีความสำคัญมากกว่าการฝึกอบรมด้านภาษาและวิทยาศาสตร์ และ 5) ควรให้ความสำคัญกับองค์ความรู้ทั่วไปมากกว่าองค์ความรู้เฉพาะ ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถสะท้อนให้เห็นถึงการนำเทคนิคการแสดงความเข้าใจในการอ่านไปประยุกต์ใช้ในการอ่านบทความทางวาทศิลป์อื่น ไปจนถึงการสอนรายวิชาการอ่าน ตลอดจนการประเมินความเข้าใจของผู้อ่านคนอื่นได้ด้วย
Article Details
ทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) จำนวน 3 ท่าน จากหลากหลายสถาบัน โดยผู้ประเมินบทความไม่ทราบชื่อผู้เขียน และผู้เขียนไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน (Double-blind Review) ข้อความและบทความในวารสารหาดใหญ่วิชาการเป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่ความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ กองบรรณาธิการวารสารหาดใหญ่วิชาการ ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกบทความเพื่อใช้ประโยชน์ทางวิชาการ แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มาของบทความ
References
Baskin, W. (1966). Classics in education. New York: Philosophical Library.
Crusius, T. W., & Channell, C. E. (2016). The aims of argument: A text and reader (8th ed). New York: McGraw-Hill Education.
Einstein, A., Seelig, C., & Bargmann, S. (1973). Ideas and Opinions by Albert Einstein: Based on Mein Weltbild. London: Souvenir.
Hayes, D. (2007). What Einstein can teach us about education. International Journal of Primary, Elementary and Early Years Education, 35(2), 143-154. doi: 10.1080/03004270701311986
Hegelund, S., & Kock, C. (2003). A good paper makes a case: Teaching academic writing the Macro-Toulmin way. Teaching Academic Writing in European Higher Education, 2, 75-85.
Kurland, D. (2000). Three ways to read and discuss texts. Retrieved from http://www.criticalreading.com/ways_to_read.htm