นโยบายการบริหารกับการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของนโยบายการบริหารกับการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพ และเพื่อหาข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพ โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ จากเอกสารของหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง โดยเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 4 กลุ่ม คือ (1) ผู้กำหนดนโยบาย (2) กลุ่มผู้ผลิตพยาบาลวิชาชีพ (3) ผู้บริหารสถานพยาบาล โดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ในขณะที่กลุ่มที่ (4) พยาบาลวิชาชีพใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญรวมทั้งสิ้น 31 คน
ผลการศึกษาสภาพปัญหาการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพ สามารถสรุปได้ดังนี้ (1) ปัญหาในการขับเคลื่อนนโยบาย อันเกิดจากปัญหาการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีมุมมองที่แตกต่างกัน (2) นโยบายมีความย้อนแย้งกัน เช่น การยกเลิกการให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาพยาบาล แต่มีความต้องการพยาบาลวิชาชีพเพิ่มสูงขึ้น (3) ปัญหาในเชิงการบริหารจัดการอัตรากำลังของโรงพยาบาลและการผลิตพยาบาลวิชาชีพของสถาบันการศึกษา (4) ขาดความก้าวหน้า และความมั่นคงในวิชาชีพ เกิดข้อจำกัดในการจ้างงาน เกิดการทำงานที่คาบเกี่ยววิชาชีพ ส่งผลไปจนถึงสวัสดิการที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน
ผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพ ดังนี้ (1) ควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาบุคลากรด้านพยาบาลวิชาชีพ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานความร่วมมือระหว่างผู้ใช้และผู้ผลิต ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และพยาบาลวิชาชีพ (2) ควรมีการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานภาระงานที่ชัดเจนและเป็นธรรม ทบทวนนโยบายด้านสวัสดิการของพยาบาลที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน
Article Details
บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review) ข้อความและบทความในวารสารหาดใหญ่วิชาการเป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่ความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ กองบรรณาธิการวารสารหาดใหญ่วิชาการ ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกบทความเพื่อใช้ประโยชน์ทางวิชาการ แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มาของบทความ
References
Chindawattana, A. (2013). Creating public policy for participatory health: A new dimension of health promotion (5th ed.). Bangkok: Phim Dee. [in Thai]
Fujita, N., Zwi, A. B., Nagai, M., & Akashi, H. (2011). A comprehensive framework for human resources for health system development in fragile and post-conflict states. PLoS Medicine, 8(12), 1-7. Retrieved from https://bit.ly/3cCqvGc
Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. B. (1959). The motivation to work. New York: John Wiley & Sons.
Jeungsathiensup, K., Wattananamkun, W., Phadungtot, C. H., Rattanamongkolkul S., & Sirisathitkun, M. (2015). Health reform, Democratic reform: Public policy, Participation and deliberative democracy. Bangkok: Deewan. [in Thai]
Kantha, A. (2014). Impact and solution of nursing labor shortage in Thailand. .Journal of Nursing Science, 32(1), 81-90. [in Thai]
Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (2005). The balanced scorecard-measures that drive performance. Harvard Business Review, 83(7), 172-182.
Kingdon, J. W. (1995). Agendas, alternatives, and public policies (2nd ed.). New York: Harper Collins.
Kunaviktikul, W., Chitpakdee, B., Srisuphan, W., & Bossert, T. (2014). Preferred choice of work setting among nurses in Thailand: A discrete choice experiment. Nursing & Health Sciences, 17(1), 126-133.
Marć, M., Bartosiewicz, A., Burzyńska, J., Chmiel, Z., & Januszewicz, P. (2018). A nursing shortage-a prospect of global and local policies. International Nursing Review, 66(1), 9-16.
Nallaperuma, D., & De Silva, D. (2017). A participatory model for multi-document health information summarisation. Australasian Journal of Information Systems, 21, 1-15. Retrieved from https://doi.org/10.3127/ajis.v21i0.1393
Nopamornrabordi, M. /MGR Online. (2009). Crisis in nursing! Parade resigns every year 3 thousand people. New graduates flow to the private sector. Retrieved from https://mgronline.com/qol/detail/9520000005964 [in Thai]
Thailand Nursing and Midwifery Council. (2009). Second national nursing and midwifery development plan (2007-2016). Bangkok: Siriyod Printing. [in Thai]
Office of the Civil Service Commission (OCSC). (2017). Thai bureaucracy in the context of Thailand 4.0. Retrieved from https://bit.ly/39wxxu8 [in Thai]
Saikia, D. (2018). Nursing shortages in the rural public health sector of India. Journal of Population and Social Studies, 26(2), 101-118.
Sawangdee, K. (2008). The current nursing workforce situation in Thailand. Journal of Health System Research, 2(1), 40-46. [in Thai]
Sawangdee, K., Theerawanwiwat, D., Lorjirachunkun, W., & Jitrawech, J. (2009). Professional working schedule of professional nurses in Thailand. Journal of Demography, 1(1), 73-93. [in Thai]
Srisuphan, W., & Sawangdee, K. (2012). Policy recommendations for solving the shortage of professional nurses in Thailand. Journal of the Nursing Council, 27(1), 5-12. [in Thai]
The Secretariat of The House of Representatives. (2014). Reform issues of Thailand in local administration. Bangkok: The Secretariat of The House of Representatives. [in Thai]
Watthanasiritham, P., & Petchmak, P. (2008). Social administration science of the century for Thai and world society. Bangkok: Community Organization Development Institute. [in Thai]
Wongwichai, C. H. (2016). Health manpower as labor: Problems and solutions of the Thai health system. Retrieved from https://www.hfocus.org/content/2016/04/12004#_ftn4 [in Thai]
Yin, R. (1994). Case study research: Design and methods (2nd ed.). Beverly Hills, CA: Sage.