การสร้างความรู้และการจัดการความรู้ของกองทุนหมู่บ้าน บ้านทุ่งกลับน้อย ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี

Main Article Content

สุรยุทธ ทองคำ
เฉลิมพร เย็นเยือก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างความรู้และการจัดการความรู้ของกองทุนหมู่บ้าน บ้านทุ่งกลับน้อย ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพักทัน คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน สมาชิกกองทุนหมู่บ้านและตัวแทนพัฒนากรประจำอำเภอ เลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง รวม 15 คน พื้นที่ในการวิจัย คือ ที่ทำการกองทุนหมู่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลพักทัน พื้นที่ชุมชนภายในหมู่บ้าน สำนักงานพัฒนาชุมชน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ส่วนการรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า กองทุนหมู่บ้านมีกระบวนการสร้างความรู้ ตามแนวคิดเซคิโมเดล มีการหมุนเกลียวของความรู้ จากความรู้ของคณะกรรมการและการรับความรู้ด้านระเบียบการดำเนินงานและด้านบัญชีจากหน่วยงานภายนอก นำมาสร้าง และแลกเปลี่ยนความรู้ในกลุ่มกรรมการ ก่อนจะส่งต่อความรู้สู่สมาชิก การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า 1) ความรู้ที่จำเป็น คือ ความรู้ในการบริหารจัดการและความรู้ในด้านบัญชี 2) สิ่งสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการสร้างความรู้ คือ การสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ร่วมกัน ช่วยให้เกิดความเข้าใจปัญหา นำไปสู่การแก้ปัญหาให้กับสมาชิก 3) เครือข่ายการเงินในชุมชนมีความสำคัญอย่างมากที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านในการแก้ปัญหาการกู้ยืมเงินนอกระบบ 4) การส่งต่อความรู้ให้กับคนรุ่นใหม่ ต้องพิจารณาทั้งความรู้ ความสามารถและความซื่อสัตย์

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Chansukree, P., Phansaita, N., Chuayok, P., & Rungjindarat, N. (2017). Knowledge management in creative tourism: A case study of the Amphawa community in Samut Songkhram province. Dusit Thani College Journal, 11(3), 49-63. [in Thai]

Earsakul, S. (2014). An evaluation of the village fund operation in the Phochai sub-district municipality, Mueang district, Nongkhai province. Nakhon Phanom University Journal, 4(2), 30-36. [in Thai]

Janjaroensuk, N. (2015). Knowledge management model of community business at Ban Kiu Lae Noi and Ban Kiu Lae Luang in San Pa Tong district, Chiang Mai province. Journal of Community Development and Life Quality, 3(1), 49-56. [in Thai]

NESDC. (2019). Five-year Thailand development report (2014-2018). Retrieved from http://online.pubhtml5.com/yrie/xmir/#p=1 [in Thai]

Nonaka, I., & Takeuchi, H. (1995). The knowledge-creating company: How Japanese companies create the dynamics of innovation. New York: Oxford University Press.

Nonaka, I., & Konno, N. (1998). The concept of “ba”: Building a foundation for knowledge creation. California Management Review, 40(3), 40-54.

Nonaka, I., Toyama, R., & Konno, N. (2000). Seci, ba and leadership: A unified model of dynamic knowledge creation. Long Range Planning, 33(1), 5-34.

Office of the Royal Society. (2013). Dialogue. Retrieved from http://www.royin.go.th/? knowledges=สุนทรียสนทนา-๑๐-พฤษภาคม [in Thai]

Wichinplert, S. (2015). Report on operations of the national village and community fund project. Retrieved from http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parbudget/ewt_dl_link.php?nid=105 [in Thai]

Wongkham, N. (2018). Factors to the success of village fund policy implementation: Case study of the village funds that developed into community financial institutions in Samutprakan province. Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University, 10(1), 187-200. [in Thai]

Wongsrikaew, K., Ruanggoon, J., & Chunprasert, S. (2017). Development of strong community: A case study of Poonbumphen community, Phasi Charoen district, Bangkok. Journal of Community Development and Life Quality, 5(1), 46-57. [in Thai]

Wongsurawat, S., Choonhaklai, S., & Natrujirote, W. (2019). The management of village funds at very good level: A case study in Nakhon Pathom province. Journal of MCU Peace Studies, 7(3), 888-898. [in Thai]