อนาชีด: การกลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการกลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมของอนาชีดของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ภาคสนาม ร่วมกับการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากนั้นนําข้อมูลมาวิเคราะห์ เชิงเนื้อหาและเขียนผลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า อนาชีดของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนใต้ ประกอบด้วย จังหวัด ปัตตานี และจังหวัดสงขลา ซึ่งอนาชีดเป็นลําน้ําที่มีใจความหลักสําคัญเพื่อตอกย้ำอุดมการณ์ความเชื่อตามแบบฉบับของศาสนาอิสลามที่มีต่อพระเจ้าองค์เดียว และการปฏิบัติตนตามศาสดา เพื่อเป็นมุสลิมที่ดีอันเป็นรูปแบบที่ยึดถือปฏิบัติมาช้านาน ถูกทําให้กลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม ด้วยกระบวนการ ดังนี้ ประการแรก ผู้ผลิตประกอบสร้างความหมายให้แก่อนาชีด ประการที่สอง การจัดเวทีประกวดแข่งขันโดยมีสถาบันทางสังคมเป็นเบื้องหลัง ประการที่สาม การสร้างตัวตนให้ศิลปิน เป็นที่ยอมรับทางสังคม ประการที่สี่ เครื่องมือในการผลิตอนาชีดที่ทันสมัย และประการที่ห้า การโฆษณา ผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ โดยสามารถนําองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์เพื่อสร้างพื้นที่การเรียนรู้อนาซีด และพัฒนาระบบการผลิตให้มีคุณภาพต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review) ข้อความและบทความในวารสารหาดใหญ่วิชาการเป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่ความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ กองบรรณาธิการวารสารหาดใหญ่วิชาการ ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกบทความเพื่อใช้ประโยชน์ทางวิชาการ แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มาของบทความ
References
Anantawong, W., Boonprakarn, K., & Tepsing, P. (2018, July 20-21). The meaning and way of life of Khiriwong Community. In The 9th Hatyai National and International Conference. Hatyai University, Songkhla. [in Thai]
Bensoh, R. (2019, May 10), Teaching expert for anasyid (interview). [in Thai]
Chalermsan, U. (2018). Negotiations with Isan-ness in the digital space: Identity politics of Isan net idols. Journal of Language and Culture, 37(1), 134-135. [in Thai]
Daoh, R. (2010). Anasid the voice of peace (Research repot), Pattani: Prince of Songkla University. [in Thai]
Intarapanich, S., & Janthranusorn, K. (2014). Contested space: The Kut Ting Ramsar Site in Bueng Kan Province, Thailand. Journal of Mekong Societies, 10(1), 21-22. [in Thai]
Kaewprakob, J. (2010). Discourses from the historical movies entitled: Bang Rajan the legend of the vullage'w Warriors, Suriyothai and the legend of King Naresuan (Master's thesis). Rajabhat Mahasarakham University, Mahasarakham. [in Thai]
Leejaroen, A. (2016). University spaces: Commoditization in capitalism (Master's thesis). Prince of Songkla University, Songkhla. [in Thai]
Meekaew, N., & Srisontisuk, S. (2012). Chaikong road: Cultural commodification for tourism in Chiangkhan District, Loei Province (Master's thesis). Khon Kaen University, Khon Kaen. [in Thai]
Pongnil, M. (2015). Humanities and social sciences research survey in the upper north: Observations of changes in the relation of social structures to humans. Journal of Human Sciences, 16(2), 185-172. [in Thai]
Sharepie, M. (2015). A study of the importance of Anasyid song for support to the children and youth of Donchimplee Sub-district, Bangnamplew District, Chachoengsao Province. Burapha Arts Journal, 18(2), 138-139. [in Thai]
Waicharoen, A. (2015). The impact of advertising on consumer behavior in the digital sphere. Dhurakij Pundit Communication Arts Journal, 9(1), 11-12. [in Thai]