สมรรถนะการบริหารความขัดแย้ง สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

วีระศักดิ์ พัทบุรี
ชวลิต เกิดทิพย์
เอกรินทร์ สังข์ทอง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะการบริหารความขัดแย้ง สำหรับผู้บริหาร สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และ 4 อำเภอในจังหวัด สงขลา จำนวน 862 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และการสุ่มอย่างง่ายให้ได้กลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วน ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ เนื้อหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเพื่อการจำแนกกลุ่มตัวแปรโดยใช้เทคนิค การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบสมรรถนะการบริหารความขัดแย้งสำหรับผู้บริหาร สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย 6 สมรรถนะ คือ 1) สมรรถนะการควบคุมและ บริหารจัดการความขัดแย้ง 2) สมรรถนะการเผชิญความขัดแย้งด้วยภาวะผู้นำอย่างเหนือชั้น 3) สมรรถนะการ สร้างความสัมพันธ์และความเสมอภาค 4) สมรรถนะการจัดการองค์กรเพื่อรักษาสมดุลของความขัดแย้ง 5) สมรรถนะการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม และ 6) สมรรถนะการควบคุมตนเองในสถานการณ์ความ ขัดแย้ง

 

Conflict Management Competency for School Administrators under the Office of Basic Education Commission in the Southernmost Provinces

The purpose of this research was to study administrators’ competency in conflict management for their schools under the supervision of the Office of Basic Education Commission in the Southernmost Provinces. There was total of 862 samples. Administrators and basic education committees of schools located in Pattani, Yala, Narathiwat, Satun and four districts of Songkhla province were selected by Stratified Random Sampling and Simple Random methods. Data collected by survey questionnaires were statistically analyzed through the methods of content analysis, frequency, percentage, average, standard deviation, cluster analysis, and exploratory factor analysis. The results revealed that the components of the schools’ administrators’ conflict management consisted of six competencies in: 1) controlling and solving conflicts, 2) confronting conflicts with superior leadership skills, 3) building relationships and equalities, 4) managing an organization’s balancing of conflicts, 5) respecting cultural diversities, and 6) self-control in encountering conflict situations.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)