คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล: กรณีศึกษาเทศบาลนคร สงขลา และเทศบาลนครหาดใหญ่

Main Article Content

ภัทร์กานต์ จันทร์มา
อุทัย ดุลยเกษม

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่ออธิบายว่ามีปัจจัยอะไรที่ส่งผลต่อคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน เทศบาล และปัจจัยแต่ละตัวทำงานอย่างไร การวิจัยนี้เลือกโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดเทศบาลนครสงขลา และ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ เป็นกรณีศึกษา โดยเลือกโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสงขลา 3 โรงเรียน และโรงเรียนเทศบาลนครหาดใหญ่ 3 โรงเรียน ที่มีคุณภาพการศึกษาที่แตกต่างกัน โดยใช้เกณฑ์ตัวชี้วัด 5 ตัว ของ สมศ. รอบสาม จากแต่ละเทศบาล ซึ่งวิเคราะห์เนื้อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีคุณภาพและมาตรฐานการ ศึกษาของโรงเรียนเทศบาล ออกแบบการวิจัยแบบการศึกษาเปรียบเทียบโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานการ ประเมินคุณภาพภายใน คะแนนโอเน็ต (O-Net) การประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. รอบสาม รายงานการ ประชุมประจำปี การสัมภาษณ์ (แบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง) ผู้ให้ข้อมูลหลักและการสังเกตแบบไม่มีส่วน ร่วม ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เชิงคุณภาพโดยวิธีการทำความเข้าใจ และตีความหมายข้อมูล ซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน คือ การบริหารจัดการและบริบทภายในโรงเรียน ครูผู้สอน เด็กนักเรียน ครอบครัวของนักเรียน และชุมชน 2) การทำงานของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน 3) การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยหลัก คือ การทำงานร่วมกันของแต่ละปัจจัยประสานงานกัน และการทำงานเป็นทีม

 

Educational Quality and Standards of Municipal Schools: A Case Study of Songkhla and Hatyai Cities

The purpose of this research was to determine factors affecting the educational quality and standards of municipal schools. Under the supervision of Hatyai Municipality, three primary schools were selected as research case studies, while another three primary schools were under the municipality of Songkhla. All the schools, having different educational quality and standards with reference to the first five indicators of ONESQA criteria, were critically analyzed in order for the researcher to identify the factors. The data collected by the use of a multi-case comparative study of the schools’ SAR, O-Net scores, ONESQA’s External Evaluation of Educational Quality and Standards Reports, Annual Reports, interviews (structured and unstructured), and non-participant observation, were later qualitatively analyzed using the interpretive understanding method. The Triangulation Method employed in the study was to test the data’s reliability. Not only the schools’ management and their internal contexts such as teachers, students, and the students’ families and communities were the main factors affecting the educational quality and standards of the schools, as found by the study, but the factors’ functions and interactions among them.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)