การวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษา ห้องเรียนพิเศษ โครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ (SME) ของโรงเรียนมัธยมศึกษา

Main Article Content

เกวลิน ไชยสวัสดิ์
เรชา ชูสุวรรณ
วุฒิชัย เนียมเทศ
บุญญิสา แซ่หล่อ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ค้นหาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ คุณภาพการจัดการศึกษา ห้องเรียนพิเศษ โครงการ พัฒนาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ (Sciences, Mathematics and English (SME) Project) ของโรงเรียน มัธยมศึกษา และเพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษา ห้องเรียน พิเศษ โครงการ SME ของโรงเรียนมัธยมศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการผสมผสาน ทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ การ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาและวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสนทนากลุ่มเฉพาะ และข้อมูล เชิงปริมาณ ซึ่งใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากโรงเรียนที่จัดการศึกษา ห้องเรียนพิเศษ โครงการ SME ทั้งประเทศ ซึ่งมีทั้งสิ้น จำนวน 25 โรงเรียน กระบวนการวิจัย แบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ค้นหา องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ ระยะที่ 2 สร้างแนวทางการพัฒนาตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษา ห้องเรียนพิเศษ โครงการ SME ของโรงเรียนมัธยมศึกษา

ผลการวิจัย พบว่า การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโครงการ SME ในโรงเรียน มัธยมศึกษาด้วย Exploratory Factor Analysis Model : EFA เพื่อสำรวจและระบุองค์ประกอบร่วม ผลปรากฏ ว่าได้จำนวนองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบคือ องค์ประกอบที่ 1 ด้านสภาวะแวดล้อมภายนอกและความพร้อมของ บุคลากร องค์ประกอบที่ 2 ด้านการบริหารจัดการและศักยภาพของสถานศึกษา องค์ประกอบที่ 3 การมีส่วนร่วม และคุณภาพการจัดการเรียนการสอน องค์ประกอบที่ 4 ด้านการส่งเสริมและการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน

 

Factor and Indicator Analysis of Educational Management Quality for Special Secondary School Classrooms in Science, Mathematics and English Project (SME)

The purpose of this study was to investigate qualitative elements and indicators of educational management for special secondary school classrooms in Sciences, Mathematics, and English project (SME). The research studied the qualitative elements of the SME program and defined guideline in accordance with qualitative elements and indicators of educational management. The quantitative data was collected by studying and analyzing documentary research and focus group discussions. Qualitative data was collected by questionnaires from 25 secondary schools where special classroom in SME are available. The research procedure was divided into two phases: (1) studying elements and indicators of quality, and (2) synthesizing guideline in accordance with qualitative elements and indicators of educational management. The analysis of factors affecting educational quality of SME programs was done employing the Exploratory Factor Analysis Model (EFA) to survey and identify common factors, the results showed that only four factors are considered as important external environment and the availability of personnel, the process of management and potential of the school, participation and quality of teaching and promotion and development potential of students.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)