รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบท โรงเรียนในประเทศไทย

Main Article Content

วรลักษณ์ ชูกำเนิด
เอกรินทร์ สังข์ทอง
ชวลิต เกิดทิพย์

Abstract

การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาองค์ประกอบ คุณลักษณะ และรูปแบบของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู บริบทโรงเรียนในประเทศไทยที่มีแนวทางการจัดการเรียนรู้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็น การศึกษาปรากฏการณ์ แบบพหุกรณี เลือกแบบเฉพาะเจาะจงโรงเรียนในแต่ละภูมิภาคที่มีแนวทางการจัด การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จำนวน 5 แห่ง เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกแบบเฉพาะเจาะจงทั้งผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน รวมจำนวน 64 คน การฝังตัวสังเกตการณ์แบบ มีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมในพื้นที่ศึกษา การศึกษาเอกสาร และการสนทนากลุ่มตัวแทนจากพื้นที่ศึกษา นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คนเพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของทฤษฎี ด้วยเครื่องมือแบบสัมภาษณ์ กึ่งโครงสร้าง แบบสังเกตการณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบศึกษาเอกสาร แบบบันทึกภาคสนาม และแนวคำถาม การสนทนากลุ่ม โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างทฤษฎีจากข้อมูลปรากฏการณ์ที่ยังขาดทฤษฎีมาอธิบาย ให้เข้าใจได้ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในงานวิจัย ผู้วิจัยใช้วิธีการสร้างความสัมพันธ์และความคุ้นเคย การยืดหยุ่น เวลาการเก็บข้อมูลจนถึงจุดอิ่มตัว การเก็บข้อมูลยืนยันแบบสามเส้า การตรวจสอบข้อมูลและการวิเคราะห์กับเพื่อน คู่วิจัย และการพัฒนาความไวเชิงทฤษฎี ของผู้วิจัยด้วยการปฏิบัติการในพื้นที่นำร่อง แบบคู่ขนานกับการศึกษา ปรากฏการณ์

ผลการวิจัยพบว่า ด้านรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบท โรงเรียนในประเทศไทย ประกอบด้วย จุดเปลี่ยนผ่านจากระบบปิดสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูที่มี ด้วย การขับเคลื่อนผ่านองค์ประกอบของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียน ในประเทศไทยที่มีความสัมพันธ์ส่งผลต่อเนื่องกันอย่างเป็นเหตุและผลอย่างเป็นลำดับตามองค์ประกอบสำคัญ 6 ด้านด้วยกัน ได้แก่ (1) ชุมชนกัลยาณมิตรตามวิถีไทย ส่งผลให้เกิดความไว้วางใจและรับฟัง (2) ภาวะผู้นำ เร้าศักยภาพ ทำให้เกิดการเผยตนของผู้นำการเปลี่ยนแปลง (3) วิสัยทัศน์เชิงศรัทธาร่วม ทำให้เกิดพลังเข็มทิศ วิสัยทัศน์ร่วม (4) ระบบเปิดแบบผนึกกำลังมุ่งสู่ผู้เรียน ทำให้เกิดการเผยตนเป็นเจ้าของงานการเรียนรู้ (5) ระบบ ทีมเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่วุฒิภาวะและจิตวิญญาณความเป็นครู ทำให้เกิดเจตจำนงร่วมพัฒนาวิชาชีพ (6) พื้นที่เรียนรู้แบบรว่ มแรงรว่ มใจบนฐานงานจริง ทำให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงบนฐานงานจริง เมื่อ แต่ละพื้นที่มีการพัฒนาในรูปแบบดังกล่าวอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นวิถีปกติขององค์กร

 

A Model of a Professional Learning Community of Teachers Toward 21st Century Learning of Schools in Thailand

This research was a qualitative study aimed to investigate elements, characteristics, and models of a professional learning community of teachers toward the 21st century learning of schools in Thailand where methods of learning management were accordingly employed along with the learning in the 21st century. This research was a phenomenological multi-case study with a purposive sampling design focusing on each regional area in five schools where methods of learning management were accordingly employed along with the learning in the 21st century. The data were collected from 64 school administrators, teachers, and students with a purposive sampling in-depth interview. The participant and non-participant observations in selected study areas, a literature study, and a focus group discussion of 12 representatives, academics, and experts from the areas were acquired to examine the congruence of the theory through the tools of a semi-structured interview, a semi-structured observation, a literature study, a field note, and a guided question for a group interview. The grounded theory technique was used to analyze the obtained phenomenological data which were lacking in theoretical explanation. To make the trustworthiness for the research, the rapport approach, flexible duration of data saturation, data triangulation, data investigation and analysis with the co-researcher, and development of theoretical sensitivity in the operational pilot project area were introduced in parallel with studying a phenomenon.

The study revealed that the elements of professional learning community of teachers toward the learning of the 21st century consisted of six major parts which were respectively related as follows: 1. a caring community based on Thai tradition that lead to deep listening and trust among teachers, 2. courage leadership which reveal the ability of transformative leadership, 3. shared vision and faithfulness which create a powerful focused shared-vision, 4.teacher-cooperated open system focus on the students which create a full participation of students as the owner of the studying, 5. a professional team learning system that develops teacher’s maturity and spirit, which stimulate the will of professions, and development 6. the supportive system based on the job learning space through the work that create learning for change culture. When each place has continually develop these six elements until they become the normal habit of organization.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)