การดำรงอยู่ของการทอผ้าตีนจกของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • แพรภัทร ยอดแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คำสำคัญ:

การดำรงอยู่, ผ้าทอตีนจก, กลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาการดำรงอยู่ของการทอผ้าตีนจกของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 2.ศึกษาลวดลายของการทอผ้าตีนจกของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง คือ กลุ่มทอผ้าตีนจก เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ

ผลการวิจัยพบว่า

1.ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการดำรงอยู่ของการทอผ้าตีนจกของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ได้แก่ 1. คุณค่าและความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง  2. มูลค่าทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เกิดจากผ้าทอตีนจก 3. พลังการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการอนุรักษ์ผ้าทอตีนจก กลุ่มทอผ้าตีนจกมีรูปแบบการดำเนินงานในลักษณะธุรกิจชุมชน และมีการใช้กลยุทธ์เพื่อพัฒนาศักยภาพธุรกิจชุมชน คือ 1) ด้านการผลิต 2) ด้านการตลาด  3) ด้านการเงิน 4) ด้านการบริหารจัดการ  เพื่อบริหารจัดการกลุ่มทอผ้าและเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ สืบสาน วัฒนธรรมและประเพณีการทอผ้าตีนจกของชาวลาวครั่ง

2.ลวดลายของผ้าทอตีนจกของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง  จังหวัดนครปฐม มีลวดลายผ้าทอลาวครั่งที่เป็นเอกลักษณ์คือ 1.ลวดลายธรรมชาติ ได้แก่ ลายดอกมะเดื่อ ลายดอกชบา ลายดอกแก้วและลายดอกพิกุล ลายมะเขือ ลายไม้สน ลายนาค ลายหงส์ ลายน้ำไหล เป็นต้น 2. ลวดลายเรขาคณิต  ได้แก่ ลายสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ลายเส้นตรง เส้นโค้ง วงกลมและวงรี ลายตะขอ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ผ้าทอตีนจกในชุมขนลาวครั่งโพรงมะเดื่อที่ได้รับความนิยมที่สุดคือ ผ้าทอตีนจก ลายดอกมะเดื่อ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-23 — Updated on 2024-06-04

Versions