เกี่ยวกับวารสาร

วัตถุประสงค์ วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ (Journal of Liberal Arts and Service Industry) เป็นวารสารของคณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยจัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ที่มีคุณภาพ ในศาสตร์ทางด้าน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาตะวันตก ภาษาตะวันออก วรรณคดี ภาษาศาสตร์ประยุกต์ บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และกลุ่มอุตสาหกรรมบริการเช่น การโรงแรม การท่องเที่ยว อาหารและภัตตาคาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจการประชุมและนิทรรศการ การสื่อสารทางวัฒนธรรม การสื่อสารระหว่างบุคคลทั้ง วัจนภาษาและอวัจนภาษา โดยรับตีพิมพ์ทั้งรูปแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเป็นสื่อกลางในการนำเสนอเพื่อบทความที่มีคุณภาพ และมาตรฐานสูง ที่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ หลากหลายสาขาในอนาคต

ประกาศ : วารสารมีนโยบายเป็นตีพิมพ์เป็นปีละ 2 ฉบับ ดังนี้

กำหนดการตีพิมพ์ ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม-มิถุนายน
  ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม
   

นโยบายของวารสาร 

1. วารสารไม่มีการกำหนดลำดับหรือ queuing ซึ่งเป็นคำถามที่ผู้แต่งสอบถามเข้ามา การที่จะได้ตีพิมพ์เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับ คุณภาพ และมาตรฐาน ความเรียบร้อยของบทความ โดยผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิเพียงเท่านั้น
2. การตีพิมพ์ของวารสารนั้น บทความเรื่องใดได้ตอบรับให้ตีพิมพ์ จะอัพโหลดขึ้นเว็บไซต์ทันที และจะเรียงลำดับเรื่องไป จนกระทั่งประมาณ 1 เดือนก่อนหมดเขตปิดเล่มวารสาร
3. วารสารไม่มีกำหนดจำนวนเรื่องต่อเล่ม ทั้งนี้บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการแต่งตั้งมาเพื่อประเมินบทความ เพียงเท่านั้น
4. ผู้สนใจส่งบทความจะต้องจ่ายค่าอ่านผลงานให้ผู้ทรงคุณวุฒิอ่านผลงาน บทความภาษาไทย บทความละ 4,000 บาท บทความภาษาอังกฤษ  บทความละ 5,500 บาท ตามประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง กำหนดอัตราค่าดำเนินการจัดพิมพ์บทความในวารสารศิลปศาสตร์และะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2565     
5. ผู้ที่ได้ส่งบทความวิจัย และบทความวิชาการ สามารถชำระค่าดำเนินการจัดพิมพ์บทความ ได้ที่ บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน  เลขที่บัญชี 769-200001-0 
6. ตามประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง กำหนดอัตราค่าดำเนินการจัดพิมพ์บทความในวารสารศิลปศาสตร์และะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 ระบุว่า "ในกรณีที่ผลการพิจารณาบทความนั้นไม่ผ่านการประเมินคุณภาพบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิผู้เขียนไม่สามารถขอคืนค่าดำเนินการจัดพิมพ์บทความได้"

ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะอุตสาหกรรมบริการครั้งที่ 2-4/2567 เมื่อวันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 จึงให้กำหนดอัตราค่าดำเนินการจัดพิมพ์บทความในวารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ ดังนี้

1. กรณีอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สังกัดคณะอุตสาหกรรมบริการ ไม่ต้องจ่ายค่าดำเนินการจัดพิมพ์บทความภาษาไทย และค่าดำเนินการจัดพิมพ์บทความภาษาต่างประเทศ

2. กรณีนิสิตคณะอุตสาหกรรมบริการ ในระดับปริญญาตรี โท เอก ที่มีชื่อร่วมกับอาจารย์ในคณะอุตสาหกรรมบริการ ไม่ต้องจ่ายค่าดำเนินการจัพิมพ์บทความภาษาไทย และค่าดำเนินการจัดพิมพ์บทความภาษาต่างประเทศ

3. กรณีอาจารย์ บุคลากร นิสิต ในระดับปริญญาตรี โท เอก ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ไม่ใช่คณะอุตสาหกรรมบริการ อัตราค่าดำเนินการจัดพิมพ์บทความภาษาไทย บทความละ 2,000 บาท และอัตราค่าดำเนินการจัดพิมพ์บทความภาษาต่างประเทศ บทความละ 2,750 บาท

4. กรณีบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อัตราค่ดำเนินการจัดพิมพ์บทความภาษาไทยบทความละ 4,000 บท และอัตราค่าดำเนินการจัดพิมพ์บทความภาษาต่างประเทศ บทความละ 5,500 บาท

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป

ประกาศคณะอุตสาหกรรมบริการ

 

ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บัญชีที่โอนเงิน

วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการเปิดรับบทความ (Call for Paper)

 ในปี พ.ศ.2567 นโยบายภาครัฐสนับสนุนให้ประเทศไทยผลักดันการนำวัฒธรรมมาให้เกิด วัฒนธรรมอำนาจอ่อน หรือ Cultural Soft Power เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางของวารสารจึงประกาศให้ Soft Power เป็นเรื่อง ที่คัดเลือกเป็นพิเศษ (Selected Topic) 

เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมามีการนำคำศัพท์ดังกล่าวไปใช้กันเป็นวงกว้าง โดยกระทรวงวัฒนธรรมได้สนับสนุน Soft Power ของไทย ตามแนวทางการส่งเสริมวัฒนธรรม 5 รูปแบบ เรียกว่า “5F” ดังนี้

F - Food อาหารไทย
F - Film ภาพยนตร์และวีดิทัศน์
F - Fashion การออกแบบแฟชั่นไทย
F - Fighting ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย หรือมวยไทย
F - Festival เทศกาลประเพณีไทย

ท่านใดที่ส่งบทความที่เกี่ยวข้องกับ Soft Power จะพิจารณาเป็นพิเศษ

นโยบายการเข้าถึง
This journal provides immediate open access to its content on the principle that making research freely available to the public supports a greater global exchange of knowledge.