การศึกษาการทำงานต่ำกว่าวุฒิของภาคการผลิตในตลาดแรงงานไทย

ผู้แต่ง

  • ชัชชลัยย์ ยลอารีย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การทำงานต่ำกว่าวุฒิ

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานต่ำกว่าวุฒิของภาคการผลิตในตลาดแรงงานไทยโดยใช้ข้อมูลรายงานผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร (Labor force survey : LFS) ผลการศึกษาพบว่า อุตสาหกรรมการผลิตในปัจจุบันนั้นมีสัดส่วนการใช้แรงงานฝ่ายผลิต หรือแรงงานระดับไร้ฝีมือจำนวนมาก โดยแรงงานที่ทำงานต่ำกว่าวุฒิส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในอาชีพประเภทกลุ่มคนงานหรือกรรมกร (Blue collar workers) และมีแรงงานที่ทำงานสูงกว่าวุฒิมากในกลุ่มอาชีพประเภทกลุ่มผู้ทำงานในสำนักงาน (White collar worker)

          นอกจากนี้แล้วยังพบว่ากลุ่มแรงงานที่ทำงานต่ำกว่าวุฒิส่งผลดีต่อสถานประกอบการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานประกอบการที่มีเทคโนโลยีการผลิตสูง ส่วนสถานประกอบการที่มีกระบวนการผลิตที่ไม่ซับซ้อนแทบจะไม่ได้รับประโยชน์จากกลุ่มแรงงานที่ทำงานต่ำกว่าวุฒิ ซึ่งสถานประกอบการส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มนี้ ในขณะเดียวกันผลเสียของแรงงานที่ทำงานต่ำกว่าวุฒินั้นพบว่าแรงงานที่ทำงานต่ำกว่าวุฒิมีแนวโน้มลาออกสูงกว่า แต่ด้วยสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันอัตราลาออกจึงอยู่ในเกณฑ์ที่สถานประกอบการรับได้ ดังนั้นแล้วสถานประกอบการจึงไม่มีวิธีการปรับตัวในต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ส่วนปัจจัยด้านระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่สถานประกอบการให้ความสนใจ และส่งผลในทางบวกต่อค่าตอบแทนของแรงงาน แต่ปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลแตกต่างกันในแต่ล่ะกลุ่มประเภทอาชีพ นอกจากนี้แล้วเมื่อแรงงานมีอายุเพิ่มขึ้น แรงงานจะมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสู่ตำแหน่งงานที่เหมาะสมได้เมื่อระยะเวลาผ่านไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-23