การประยุกต์ใช้ระบบคัมบังของสายการผลิตบรรจุชิ้นส่วนประกอบ: กรณีศึกษาบริษัทผลิตอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์

ผู้แต่ง

  • ภูวนารถ พร้อมมูล มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ธัญภัส เมืองปัน มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ระบบคัมบัง, อุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์, ชิ้นส่วนประกอบ, ออฟโร้ด, ค่าแรงงานคิดเข้างาน

บทคัดย่อ

                แนวคิดโซ่อุปทานแบบลีน ระบบการผลิตเป็นแบบทันเวลาพอดี และระบบคัมบังที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) ศึกษากระบวนการนำเข้าวัตถุดิบแบบดั้งเดิม 2.) ศึกษาการประยุกต์ใช้ระบบคัมบัง และ 3.) เปรียบเทียบระยะเวลา และต้นทุนจากกระบวนการทั้งสองระบบ ของบริษัทผลิตอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ โดยการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ มีการใช้แบบสังเกตการณ์ชนิดมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ เพื่อสรุปผลจากประชากรรวมทั้งหมด 7 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ผลการวิจัยพบว่า จากการศึกษากระบวนการนำเข้าวัตถุดิบแบบดั้งเดิม มีรอบเวลาในกระบวนการเบิกวัตถุดิบปัจจุบันเท่ากับ 60 นาที มีการเบิกวัตถุดิบ 352 ครั้ง คิดเป็น 21,120 นาที และมีต้นทุนค่าแรงงานทางตรง 33,440 บาท จากการศึกษาการประยุกต์ใช้ระบบคัมบังพบว่าสามารถลดเวลาในการเขียนใบเบิกวัตถุดิบลง 6 นาที หรือคิดเป็น 10% และลดการเบิกวัตถุดิบแบบเร่งด่วนได้ 100% ทำให้การเบิกวัตถุดิบเหลือเพียง 248 ครั้ง คิดเป็น 13,392 นาที และมีต้นทุนค่าแรงงานทางตรง 21,204 บาท ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบกระบวนการทั้งสองระบบพบว่าเวลาที่ใช้ลดลง 7,818 นาที หรือ 36.59% และต้นทุนค่าแรงงานทางตรงที่เกิดขึ้นลดลง 12,238 บาท หรือ 36.59%

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-13