การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวสำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนทุ่งมะพร้าว จังหวัดพังงา

ผู้แต่ง

  • นิมิต ซุ้นสั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • สัญญา ฉิมพิมล มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • พิมลรัตน์ ภูเขียว มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • สุภัทรา สังข์ทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • ประภาศรี อึ่งกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • ยุทธชัย ฮารีบิน มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • สิรินทรา สังข์ทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • พิมพิกา พูลสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

คำสำคัญ:

เส้นทางท่องเที่ยว การท่องเที่ยวโดยชุมชน วิจัยเชิงปฏิบัติการ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้คือ 1) เพื่อสำรวจเส้นทางท่องเที่ยวในชุมชนทุ่งมะพร้าว จังหวัดพังงา 2) เพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวทางเลือกในชุมชนทุ่งมะพร้าว จังหวัดพังงา และ 3) เพื่อประเมินเส้นทางการท่องเที่ยวในชุมชนทุ่งมะพร้าว จังหวัดพังงา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ ที่เก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายภาคส่วนทั้งจากภาครัฐ เอกชน นักท่องเที่ยว และผู้นำชุมชน ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนทุ่งมะพร้าวมีทรัพยากรทางธรรมชาติ และวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่สามารถนำมาพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวโดยไม่ลดทอนคุณค่าและการจัดการขีดความสามารถการท่องเที่ยว นอกจากนั้นการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ภายใต้รูปแบบ “มองตะวันจากภูผา...ล่องธาราสู่มหานที” ซึ่งประเมินเส้นทางท่องเที่ยวดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าเส้นทางท่องเที่ยวใหม่มีความแตกต่างจากเส้นทางการท่องเที่ยวเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสมต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-16