กลยุทธ์การตลาดแบบ PDB ของหน่อไม้และผักของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร ควนเนียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • กุลวดี ลิ่มอุสันโน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • พรรษมน บุษบงษ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • บรรพต วิรุณราช มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

สหกรณ์การเกษตรควนเนียง, บรรจุภัณฑ, PDB, ผักและหน่อไม

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการของตลาดและกลุ่มผู้บริโภคผักและหน่อไม้ที่ซื้อผักและหน่อไม้จากตลาด เพื่อศึกษาความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ผักและหน่อไม้กับคู่แข่งขันในตลาดและ เพื่อศึกษาตราสินค้าของผลิตภัณฑ์ผักและหน่อไม้ รวมทั้งออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์สำหรับผักและ หน่อไม้ สำหรับสมาชิกสหกรณ์การเกษตรควนเนียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิง คุณภาพ โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เลือกแบบเจาะจง 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ร้านค้าผักและหน่อไม้6 ราย กลุ่มที่ 2 ร้านอาหารที่ซื้อผักและหน่อไม้ไปปรุงขาย 6 ราย กลุ่มที่ 3 สมาชิกสหกรณ์ที่ปลูกผักและหน่อไม้ 6 คน กลุ่ม ที่ 4 สมาชิกสหกรณ์กลุ่มปลูกผัก 25 ราย แบ่งเป็นกลุ่มย่อย 10, 10 และ 5 ราย เก็บข้อมูลโดนการประชุม แบบมีส่วนร่วม

          ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการของตลาดหน่อไม้ไผ่ตง หน่อไม้ไผ่หวาน มีความต้องการอันดับ 1 สำหรับผัก ได้แก่ ใบมะกรูด มะเขือ อันดับ 2 ผักกูด ยอดมะพร้าว หยวก อันดับ 3 ในจังหวัดสงขลา สำหรับความแตกต่างสำคัญ พบว่า สมาชิกสหกรณ์ควนเนียงมีผลผลิตน้อย อำนาจต่อรองทางการตลาดจึงไม่มากและสำหรับตราสินค้าของผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ประเภทที่ 1 ควรมีแบบราคาต่ำ ประเภทที่ 2 เป็นกล่องพลาสติก ประเภทที่ 3 เป็นขวดพลาสติก ประเภทที่ 4 เป็นแบบสูญญการศ ประเภทที่ 5 เป็นแบบซิปรูด ประเภทสุดท้าย ถุงกระดาษ มีซิปรูดบรรจุภัณฑ์ทุก ประเภท

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-15