ปัจจัยเชิงสาเหตุของผลการปฏิบัติงานขององค์กร กรณีศึกษา ธนาคารกสิกรไทย เขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
คำสำคัญ:
การหมุนเวียนงาน, แรงจูงใจในการทำงาน, ความผูกพันของพนักงาน, ผลการปฏิบัติงานขององค์กรบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของการหมุนเวียนงาน แรงจูงใจในการทำงาน ความผูกพันของพนักงาน และผลการปฏิบัติงานองค์กร ของพนักงานธนาคารกสิกรไทย เขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) ทดสอบการหมุนเวียนงานที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานขององค์กร แรงจูงใจในการทำงาน และความผูกพันของพนักงาน 3) ทดสอบแรงจูงใจในการทำงาน และความผูกพันของพนักงานที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานขององค์กร มีกลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานธนาคารกสิกรไทยที่เคยผ่านการหมุนเวียนงาน และปฏิบัติงานอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรปราการ นนทบุรี และปทุมธานี) จำนวน 450 ตัวอย่าง มีเครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิตเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นของการหมุนเวียนงาน แรงจูงใจในการทำงาน ความผูกพันของพนักงาน และผลการปฏิบัติงานขององค์กร อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน มีการยอมรับทั้ง 5 สมมติฐาน ได้แก่ 1) การหมุนเวียนงานส่งผลเชิงบวกต่อแรงจูงใจในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 2) การหมุนเวียนงานส่งผลเชิงบวกต่อความผูกพันของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 3) การหมุนเวียนงานส่งผลเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานขององค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 4) แรงจูงใจในการทำงานส่งผลเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานขององค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 5) ความผูกพันของพนักงานส่งผลเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานขององค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่า CMIN/DF = 1.776, GFI = 0.956, CFI = 0.977, NFI = 0.984, TLI = 0.991, RMR = 0.015 และ RMSEA = 0.034 ประโยชน์ที่ได้จากผลการวิจัยสามารถเป็นแนวทางให้ผู้บริหารหรือฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันทางการเงินนำไปใช้เป็นข้อมูลในสร้างแรงจูงใจและความผูกพันของพนักงาน เพื่อเป็นการธำรงรักษาพนักงานให้คงอยู่กับองค์กรและส่งผลให้ผลการปฏิบัติงานขององค์กรดีขึ้น