การรับรู้ของนิสิตต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหาและภาษาด้วยหนังสือเรียนภาษาอังกฤษเฉพาะทาง:ภาษาอังกฤษสําหรับผู้นําทัวร์
คำสำคัญ:
ภาษาอังกฤษสําหรับผู้นําทัวร์, การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา, หนังสือเรียนภาษาอังกฤษเฉพาะทาง, การท่องเที่ยวบทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา หรือ CLIL คือแนวทางการเรียนการสอนภาษาที่เน้นวิชาความรู้และความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศ โดยนําเสนอเนื้อหาจากสังคมที่ผู้เรียนคุ้นเคยเพื่อเพิ่มพูนทักษะในการสื่อสารการศึกษานี้มุ่งศึกษาการรับรู้ของผู้เรียนต่อแนวทาง CLIL จากหนังสือเรียน “ภาษาอังกฤษสําหรับผู้นําทัวร์” และต้องการทราบว่าประสบการณ์การฝึกงานของผู้เรียนส่งผลต่อการรับรู้ของผู้เรียนหรือไม่ กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตชั้นปีที่ 3 และ 4 จํานวน 56 คน ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคกลางที่เรียนวิชา ภาษาอังกฤษสําหรับประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดําเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ดัดแปลงมาจาก López-Medina (2021) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ยผลการวิจัย พบว่า เมื่อพิจารณาตามแนวทาง CLIL ผู้เรียนเห็นว่าหนังสือเรียนอยู่ในระดับดี ทั้งด้านของโครงสร้าง (ค่าเฉลี่ย = 51.79) ชุดสื่อการสอนเสริมบทเรียน (ค่าเฉลี่ย = 44.64) และคุณสมบัติทางกายภาพและคุณประโยชน์ (ค่าเฉลี่ย = 39.29) ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา 4 ด้าน (4Cs) อันได้แก่ เนื้อหา (ค่าเฉลี่ย = 40.33) การสื่อสาร (ค่าเฉลี่ย = 40.48) ความรู้ความเข้าใจ (ค่าเฉลี่ย = 40.28) และวัฒนธรรม (44.13) ตามลําดับผู้เรียนเห็นว่าทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับดี ในด้านการบูรณาการทางภาษา ผู้เรียนเห็นว่า ภาษาในหนังสือเรียน (ค่าเฉลี่ย = 49.01) และการบูรณาการ (ค่าเฉลี่ย = 55.36) อยู่ในระดับดี