นวัตกรรมสื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของเยาวชน กรณีศึกษาหอศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • ศิวะรัฐ คำนุ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วิสูตร โพธิ์เงิน มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ทิพเนตร์ แย้มมณีชัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

นวัตกรรมสื่อมัลติมีเดีย, การเห็นคุณค่าศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น, หอศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างสื่อมัลติมีเดีย และ 2) ศึกษาผลการใช้ของสื่อมัลติมีเดียข้อมูลศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นจากวัตถุจัดแสดงภายในห้องประวัติศาสตร์ หอวัฒนธรรมมหาวิทยาลัย     ราชภัฏกาญจนบุรี ประกอบด้วย 2.1) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจของผู้เข้าชมข้อมูลศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น 2.2) เพื่อศึกษาการเห็นคุณค่าของผู้เข้าชมข้อมูลศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น 2.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียข้อมูลศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นจากวัตถุจัดแสดงภายในห้องประวัติศาสตร์ หอวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  

ผลการวิจัยพบว่า

1) ผลการประเมินคุณภาพความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของนวัตกรรมสื่อมัลติมีเดียอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.86 ค่าส่วนเบี่ยงมาตราฐาน 0.22  2) ผลการวัดความรู้ความเข้าใจ พบว่า นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจหลังเรียนอยู่ในระดับดี 3) การเห็นคุณค่าศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 ค่าส่วนเบี่ยงมาตราฐาน 0.63 และ 4) ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อนวัตกรรมสื่อมัลติมีเดีย พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.84 ค่าส่วนเบี่ยงมาตราฐาน 0.27

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26