การพัฒนากระบวนการผลิตข้าวเกรียบมันเทศ สู่การผลิตเชิงพาณิชย์โดยชุมชนมีส่วนร่วม
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มมูลค่ามันเทศที่ปลูกในพื้นที่ชุมชนบ้านทับน้ำ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยการแปรรูปเป็นข้าวเกรียบและยกระดับสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ วิธีการดำเนินการวิจัยใช้กระบวนการวิจัยในห้องปฏิบัติการร่วมกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วยขั้นตอนแรกคือ การศึกษาความต้องการของเกษตรกรในการเพิ่มมูลค่ามันเทศ ต่อด้วยขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และ
กระบวนการผลิตข้าวเกรียบมันเทศ ขั้นตอนการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสู่ชุมชนเป้าหมาย และขั้นตอนสุดท้ายคือการยกระดับสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม 1) การออกแบบบรรจุภัณฑ์ 2) การออกแบบวางผังโรงงาน 3) การจัดซื้อเครื่องจักรเพื่อการผลิต 4) การอบรมให้ความรู้ด้านสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร 5) การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ผลการดำเนินงานวิจัยต่อเนื่องใน 2 ปี พบว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชน โดยประเมินจากรายได้และกิจกรรมที่หลากหลายในชุมชน เกิดการรวมกลุ่มแปรรูปมันเทศและจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตผลการเกษตรทับน้ำ-บ้านม้า ใช้วัตถุดิบมันเทศจากเกษตรกรในท้องถิ่นในการแปรรูป โดยใช้สูตรและกระบวนการผลิตจากผลงานวิจัยสมาชิกมีทักษะการแปรรูปข้าวเกรียบ สามารถนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ต่อลูกค้าและจำหน่ายสินค้าได้ ได้รับงบประมาณจากท้องถิ่นเพื่อซื้อปัจจัยการผลิต เกิดการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมการผลิตจากครัวเรือนสู่อุตสาหกรรม มียอดการสั่งซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น กลุ่มแปรรูปมันเทศเกิดการปรับตัวในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพสม่ำเสมอ และส่งมอบตรงเวลา เกิดแหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ เกิดการหมุนเวียนรายได้จากเกษตรกรสู่โรงงานแปรรูป และกลุ่มแปรรูปมันเทศมีความภูมิใจในเอกลักษณ์ของสินค้าท้องถิ่นจากมันเทศ ที่ปลูกด้วยภูมิปัญญาและสืบทอดมาอย่างยาวนาน
Article Details
Area Based Development Research Journal values copyright protection and licensing to safeguard author rights and facilitate the appropriate dissemination of research. Our policies ensure openness, accessibility, and attribution. Authors retain copyright ownership, and articles are published under a Creative Commons Attribution License (CC BY), allowing sharing, adaptation, and proper attribution. Authors have the freedom to publish under the CC BY license, granting broad reuse and distribution permissions. The journal supports posting articles on third-party repositories, adhering to institutional and funding restrictions. Author guidelines detail copyright and licensing requirements, empowering authors with knowledge about their rights and responsibilities. These policies cultivate an environment of collaboration, openness, and responsible sharing, benefiting authors and the research community while honoring intellectual property rights.
References
สืบค้นวันที่ 6 เมษายน 2559.
บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล และ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ. 2555. ระบบการผลิตที่หลากหลายการเชื่อมโยงทฤษฎีระบบนิเวศเกษตรกับการปฏิบัติ
ด้านการผลิตในระบบเกษตรยั่งยืน. ปฏิรูประบบเกษตรกรรมเพื่อความเป็นธรรมและความมั่นคงทางอาหาร. พิมพ์ดี. จังหวัด
สมุทรสาคร. 67-96.
พาขวัญ ทองรักษ์ และคณะ. 2559. รายงานการวิจัยโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากมันเทศที่ปลูกในชุมชนทับน้ำ อำเภอ
บางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
พิทักษ์พงศ์ ป้อมปราณี. 2558. การขับเคลื่อนระบบเกษตรกรรมยั่งยืนอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านคอกช้าง ตำบลแหลมบัว อำเภอ
นครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 7(1); 59-73.
ศิวาพร ศิวเวชช. 2542. การสุขาภิบาลโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร ภาควิชา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร. 384 น.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข, 2556. การสุขาภิบาลโรงงานอาหาร. จาก https://food.fda.moph.go.th/
data/news/ สืบค้นวันที่ 10 มกราคม 2560.
สุชาติ จรประดิษฐ์ และคณะ 2557. อิทธิพลของการใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และ
คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีต่อความสำเร็จทางการตลาดของสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ระดับ 5 ดาว
ในประเทศไทย. สุทธิปริทัศน์. 28(88); 170-195.