การท่องเที่ยวเชิงอาหารตลาดใต้เคี่ยม จังหวัดชุมพร
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจประเภทอาหาร การตัดสินใจเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ของผู้ประกอบการ กระบวนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวเชิงอาหารในตลาดใต้เคี่ยม เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามนักท่องเที่ยว จำนวน 300 ชุด และแบบสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ จำนวน 30 ชุด วิเคราะห์ผลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS วิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ผลวิจัย พบว่าอาหารในตลาดใต้เคี่ยมมี 3 ประเภท คือ อาหารทะเล อาหารท้องถิ่น และอาหารคาวหวานพร้อมรับประทาน เนื่องจากอำเภอละแมอยู่ติดทะเลอ่าวไทยจึงทำให้มีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ อาหารที่โดดเด่น คือ น้ำสมุนไพรในกระบอกไม้ไผ่ ผลไม้หลากหลายชนิดจากสวนเกษตรกร สำหรับการตัดสินใจเลือกบรรจุภัณฑ์ตลาดใต้เคี่ยม ผู้ประกอบการใช้กระบอกไม้ไผ่ ใบตอง และกะลามะพร้าว เนื่องจากเป็นวัสดุท้องถิ่น การตัดสินใจเลือกอาหารจัดจำหน่ายจะคำนึงถึงอาหารที่มีความโดดเด่นและเป็นอาหารที่หาทานยาก ในปัจจุบัน ยังคงหาวัตถุดิบในท้องถิ่นได้ และผู้ประกอบการมีความถนัด ด้านความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่มาเยือนตลาดใต้เคี่ยม พบว่านักท่องเที่ยวพึงพอใจในระดับมากที่สุดต่อบรรจุภัณฑ์ที่ใช้วัสดุธรรมชาติแทนวัสดุพลาสติก (ค่าเฉลี่ย = 4.47) บรรจุภัณฑ์มีความคิดสร้างสรรค์และเป็นธรรมชาติ (ค่าเฉลี่ย = 4.36) และไม่มีการจำหน่ายแอลกอฮอล์ (ค่าเฉลี่ย = 4.34) ปัจจัยชี้วัดความสำเร็จต่อการพัฒนาตลาดใต้เคี่ยมเพื่อการท่องเที่ยว คือ กระบวนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม โดยคณะกรรมการที่มีศักยภาพดูแลอย่างใกล้ชิด ตั้งกฎระเบียบให้ผู้ประกอบการปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน อาหารที่จำหน่ายต้องใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น เป็นอาหารท้องถิ่นที่มีความโดดเด่นและหลากหลาย และจากการมีส่วนร่วมของชุมชนในระดับหมู่บ้าน จำนวน 47 หมู่บ้าน ทำให้ได้รับการส่งเสริมเป็น “ตลาดต้องชม” โดยกระทรวงพาณิชย์
Article Details
Area Based Development Research Journal values copyright protection and licensing to safeguard author rights and facilitate the appropriate dissemination of research. Our policies ensure openness, accessibility, and attribution. Authors retain copyright ownership, and articles are published under a Creative Commons Attribution License (CC BY), allowing sharing, adaptation, and proper attribution. Authors have the freedom to publish under the CC BY license, granting broad reuse and distribution permissions. The journal supports posting articles on third-party repositories, adhering to institutional and funding restrictions. Author guidelines detail copyright and licensing requirements, empowering authors with knowledge about their rights and responsibilities. These policies cultivate an environment of collaboration, openness, and responsible sharing, benefiting authors and the research community while honoring intellectual property rights.