รูปแบบการดําเนินงานของทีมประสานวิชาการโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานของทีมประสานวิชาการโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ ทีมประสานวิชาการ 14 คน ผู้รับผิดชอบโครงการของชุมชน 14 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต สัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบรูปแบบการดำเนินงานของทีมประสานวิชาการที่สนับสนุน โครงการสร้างชุมชนให้น่าอยู่ ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาข้อเสนอโครงการ เน้นการทำงานร่วมระหว่างทีมประสานวิชาการ ผู้รับผิดชอบโครงการ และชุมชน ระยะที่ 2 การดำเนินโครงการ เน้นการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามตัวชี้วัด ระยะที่ 3 การประเมินผล โดยประเมินตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ และความเข้มแข็งของชุมชน เป็นผลจากการสนับสนุนทั้งจากชุมชนและทีมประสานวิชาการ ดังนี้ 1) ทีมประสานวิชาการ มีทักษะที่สนับสนุนการสร้างชุมชนให้น่าอยู่เพิ่มขึ้น เพิ่มเครือข่ายและประสิทธิภาพงาน 2) ผู้รับผิดชอบโครงการ สามารถเป็นผู้นำดำเนินโครงการจนบรรลุตามตัวชี้วัด เพิ่มเครือข่าย และต่อยอดงานได้ 3) ชุมชน มีแกนนำที่มีศักยภาพในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เกิดการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงตามตัวชี้วัด 4) ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงาน ได้แก่ ทีมงานที่เข้มแข็ง ความมุ่งมั่นของทีมงานในการพัฒนาชุมชน การบูรณาการสู่งานประจำ และ 5) ความท้าทายของการพัฒนาชุมชนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ในอนาคต คือ ความเข้าใจในบริบทชุมชน การประสานงานที่มีประสิทธิภาพ และการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ชุมชนมีส่วนร่วมจนสามารถจัดการตนเองได้
Article Details
Area Based Development Research Journal values copyright protection and licensing to safeguard author rights and facilitate the appropriate dissemination of research. Our policies ensure openness, accessibility, and attribution. Authors retain copyright ownership, and articles are published under a Creative Commons Attribution License (CC BY), allowing sharing, adaptation, and proper attribution. Authors have the freedom to publish under the CC BY license, granting broad reuse and distribution permissions. The journal supports posting articles on third-party repositories, adhering to institutional and funding restrictions. Author guidelines detail copyright and licensing requirements, empowering authors with knowledge about their rights and responsibilities. These policies cultivate an environment of collaboration, openness, and responsible sharing, benefiting authors and the research community while honoring intellectual property rights.