การผลิตปุ๋ยหมักเพื่อปรับปรุงดินสำหรับปลูกข้าวไร่ในพื้นที่บ้านป่าละอู จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Main Article Content
Abstract
เกษตรกรปกาเกอะญอ บ้านป่าละอู ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประสบปัญหาผลผลิตข้าวไร่ตกต่ำต่อเนื่องซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ และหนึ่งในสาเหตุคือการปลูกข้าวไร่เพียงชนิดเดียวในพื้นที่เดิม ซึ่งส่งผลให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์และกระทบต่อผลผลิต ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้จึงหาวิธีการบำรุงดินที่เหมาะสมและพึ่งตนเองได้สำหรับพื้นที่ปลูกข้าวไร่ของเกษตรกร โดยดำเนินการวิจัยแบบมีส่วนร่วมกับกลุ่มเกษตรกร ในระหว่างปี พ.ศ. 2557-2558 จากผลการศึกษาที่ผ่านมาในปี พ.ศ. 2555 พบว่าวิธีการบำรุงดินในพื้นที่ปลูกข้าวไร่ของเกษตรกรด้วยปุ๋ยมูลโคมีผลต่อการเจริญเติบโตของข้าวไร่ดีกว่าการใช้ปุ๋ยพืชสดโดยการฝังกลบต้นถั่วเขียว แต่จากการประเมินร่วมกับเกษตรกรพบว่าทั้งสองวิธีมีปัญหาด้านวัตถุดิบทั้งต้นทุนจากการจัดซื้อมูลโคทำให้ไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือการขาดแรงงานและน้ำระหว่างการปลูกพืชตระกูลถั่วเพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสด ด้วยเหตุนี้ การผลิตปุ๋ยหมักที่ใช้วัตถุดิบในพื้นที่ ที่มีการใช้น้ำและแรงงานน้อยกว่า จึงมีความเหมาะสมมากกว่า ซึ่งผลจากการทดลองในปี พ.ศ. 2557-2558 พบว่าปุ๋ยหมักสูตรที่มีการใช้ฟางข้าวต่อดินขุยไผ่ในสัดส่วน 8:1 โดยปริมาตรแบบให้น้ำน้อย (ให้น้ำทุกๆ สามวัน) ได้รับการประเมินว่าเป็นสูตรที่เหมาะสม เมื่อทำการผลิตปุ๋ยหมักสูตรดังกล่าวและนำไปใช้บำรุงดินในแปลงข้าวไร่ของเกษตรกรพบว่า นอกจากจะสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวไร่แล้ว ยังไม่มีผลกระทบต่อการหักล้มของต้นข้าวไร่อีกด้วย จากการประเมินข้อคิดเห็นของเกษตรกรพบว่าเกษตรกรปกาเกอะญอมีความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมในการศึกษาวิธีการบำรุงดินสำหรับพื้นที่ของตนเอง และเชื่อว่าความรู้ที่ได้รับระหว่างการดำเนินการวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในการเพิ่มผลผลิตข้าวไร่ในพื้นที่
Article Details
Area Based Development Research Journal values copyright protection and licensing to safeguard author rights and facilitate the appropriate dissemination of research. Our policies ensure openness, accessibility, and attribution. Authors retain copyright ownership, and articles are published under a Creative Commons Attribution License (CC BY), allowing sharing, adaptation, and proper attribution. Authors have the freedom to publish under the CC BY license, granting broad reuse and distribution permissions. The journal supports posting articles on third-party repositories, adhering to institutional and funding restrictions. Author guidelines detail copyright and licensing requirements, empowering authors with knowledge about their rights and responsibilities. These policies cultivate an environment of collaboration, openness, and responsible sharing, benefiting authors and the research community while honoring intellectual property rights.