สถาบันการศึกษาของประเทศไทย ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อสนับสนุนภาคการเกษตรมาอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบการบริการวิชาการ ถ่ายทอดเทคโนโลยี สำหรับการวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ เป็นรูปแบบที่เข้าถึงเกษตรกร สร้างการมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการตั้งแต่การพัฒนาโจทย์วิจัย เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาอย่างยั่งยืน องค์ความรู้ในการวิจัยมักมีความจำเพาะที่ยากแก่การเข้าถึง โดยเฉพาะส่วนที่ใช้สมการคณิตศาสตร์ หรือเครื่องมือที่ซับซ้อน ดังนั้นนอกจากการพัฒนางานให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่แล้ว คณะผู้วิจัยยังต้องพัฒนาทักษะในการเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่การใช้ประโยชน์ สื่อสารความเข้าใจในศาสตร์วิทยาการให้สาธารณชนเข้าถึงได้ บทความที่เผยแพร่ ในวารสารฉบับนี้ เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการวิจัย ที่ยังคงมิติเชิงลึก พร้อมกับสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาภูมิภาคต่างๆ บนฐานเกษตรกรรม ได้เป็นอย่างดี

Published: 2018-06-04

การจัดการห่วงโซ่อุปทานหญ้าเนเปียร์ ปากช่อง 1 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

อาจารี แสงเสถียร, กฤษฎา นามฉิมพลี, สรายุทธ กรวิรัตน์, ศุภลักษณ์ ฮาร์ริสัน

101-114