คุณค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ของกิจการเพื่อสังคมด้านพลังงาน : กรณีชุดกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในก๊าซชีวภาพสำหรับเกษตรกรรายย่อย
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ สังคมสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมและเสนอแนวทางการขยายผลสู่การขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ของวิสาหกิจชุมชนคนรักษ์พลังงานบ้านห้วยบง รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย 200 ราย ที่ติดตั้งชุดกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์สำหรับก๊าซชีวภาพในจังหวัดอุตรดิตถ์ กำแพงเพชร เพชรบุรี นครศรีธรรมราช และพังงา ใช้วิธีการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนเป็นกรอบการประเมินคุณค่า ผลการวิจัยพบว่า ผลลัพธ์หรือประโยชน์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดมีมูลค่า 1,287,913 บาท เป็นผลตอบแทนด้านสุขภาพมากที่สุด 636,856 บาท รองลงมา ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ 586,895 บาท ด้านสังคม 57,521 บาท และด้านสิ่งแวดล้อม 6,641 บาทโดยมีผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนในปีที่ 1 เท่ากับ 1.19 และเพิ่มเป็น 2.86 ในปีที่ 5 ขณะที่มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 837,913 บาท และอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) เท่ากับร้อยละ 25 ด้านแนวทางการขยายผลในเชิงพาณิชย์ มีการผลิตชุดกำจัดก๊าซ H2S และให้บริการวางแผนให้คำปรึกษาแก่องค์กรต่างๆ เช่น กลุ่มผู้ผลิตก๊าซชีวภาพจากฟาร์มปศุสัตว์ ธุรกิจร้านอาหาร ผู้ประกอบการ ด้านการบริหารจัดการตลาดมีความร่วมกับเครือข่ายมานะ Energy มานี Power และเทศบาลตำบลป่าเซ่า ด้านการวิจัยและพัฒนามีความร่วมมือระหว่างนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์และมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร สำหรับการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย ได้รับการส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์ต่อเนื่องโดยบรรจุในแผนพัฒนาพลังงานทางเลือกของชุมชน
Article Details
Area Based Development Research Journal values copyright protection and licensing to safeguard author rights and facilitate the appropriate dissemination of research. Our policies ensure openness, accessibility, and attribution. Authors retain copyright ownership, and articles are published under a Creative Commons Attribution License (CC BY), allowing sharing, adaptation, and proper attribution. Authors have the freedom to publish under the CC BY license, granting broad reuse and distribution permissions. The journal supports posting articles on third-party repositories, adhering to institutional and funding restrictions. Author guidelines detail copyright and licensing requirements, empowering authors with knowledge about their rights and responsibilities. These policies cultivate an environment of collaboration, openness, and responsible sharing, benefiting authors and the research community while honoring intellectual property rights.