ศักยภาพทุนชุมชนเพื่อการเป็นพื้นที่พิเศษด้านการท่องเที่ยว เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและรวบรวมทุนชุมชน และวิเคราะห์ศักยภาพของทุนชุมชนเพื่อการเป็นพื้นที่พิเศษด้านการท่องเที่ยวของเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้านทุนชุมชนด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มจากปราชญ์ชุมชน ผู้นำทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ จาก 6 ชุมชน ตัวแทนภาครัฐและเอกชน 40 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาด้วยการนำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ของข้อมูลย่อยตามหัวข้อหลักของแต่ละทุนชุมชน ผลวิจัยพบว่า เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสนมีทุนชุมชน ด้านโบราณสถานจากหลักฐานโบราณคดีภายในเมืองโบราณเชียงแสนมีโบราณสถานราว 76 แห่ง ด้านทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ประตูป่าสัก 200 ปี ที่มีต้นสักเก่าแก่และแม่น้ำโขงที่มีวิวทิวทัศน์สวยงาม ด้านวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ที่นำเสนอผ่านพิธีกรรมความเชื่อรูปแบบต่าง ๆ และด้านภูมิปัญญา มีปราชญ์ชาวบ้านที่มีองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญเป็นผู้รู้ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านภาษาวรรณคดี ด้านประวัติศาสตร์ ด้านประเพณีและวัฒนธรรมพื้นเมือง ด้านเกษตรอินทรีย์ ด้านหัตถกรรม ด้านจิตรกรรม ด้านประติมากรรม ด้านดนตรีและนาฏศิลป์ ด้านอาหาร และ ด้านสมุนไพรหมอเมือง จากการวิเคราะห์ศักยภาพทุนชุมชน เพื่อทำให้พื้นที่เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสนเป็นพื้นที่พิเศษด้านการท่องเที่ยว โดยปราชญ์ชุมชนได้สรุปความสำคัญของแต่ละทุนและวิเคราะห์เพื่อจัดอันดับความสำคัญของทุนชุมชนที่มีศักยภาพเพื่อสร้างคุณค่าเชิงเศรษฐกิจ ด้วยการบูรณาการเป็นกิจกรรมร่วมกันมี 5 ทุน ได้แก่ ด้านประวัติศาสตร์ ด้านอาหาร ด้านประเพณีและวัฒนธรรม ด้านหัตถกรรม และด้านดนตรีและนาฏศิลป์ และข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือการสร้างความตระหนักแก่คนในชุมชนให้เห็นคุณค่าของทุนชุมชนและเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยคนในชุมชนอย่างแท้จริง
Article Details
Area Based Development Research Journal values copyright protection and licensing to safeguard author rights and facilitate the appropriate dissemination of research. Our policies ensure openness, accessibility, and attribution. Authors retain copyright ownership, and articles are published under a Creative Commons Attribution License (CC BY), allowing sharing, adaptation, and proper attribution. Authors have the freedom to publish under the CC BY license, granting broad reuse and distribution permissions. The journal supports posting articles on third-party repositories, adhering to institutional and funding restrictions. Author guidelines detail copyright and licensing requirements, empowering authors with knowledge about their rights and responsibilities. These policies cultivate an environment of collaboration, openness, and responsible sharing, benefiting authors and the research community while honoring intellectual property rights.