การจัดการห่วงโซ่อุปทานหญ้าเนเปียร์ ปากช่อง 1 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
Main Article Content
Abstract
หญ้าเนเปียร์ ปากช่อง 1 เป็นพืชอาหารสัตว์ที่ให้ผลผลิตสูง มีโปรตีน และเป็นพืชพลังงานให้ก๊าซมีเทน เมื่อนำไปหมัก แต่การผลิตหญ้าเนเปียร์ยังมีปริมาณไม่เพียงพอ เนื่องจากเกษตรกรหันไปปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น เพื่อให้ปริมาณผลผลิตอาหารสัตว์เพียงพอกับความต้องการของสัตว์ในประเทศ ซึ่งความต้องการอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นจากนโยบายการปรับเปลี่ยนพื้นที่ และความต้องการก๊าซชีวภาพที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน การศึกษาเพื่อผูกโยงโซ่อุปทานหญ้าเนเปียร์จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ ถือเป็นแนวทางหนึ่งในการสนับสนุนภาคการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานสามารถดำรงอาชีพได้อย่างมั่นคง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการห่วงโซ่อุปทานและวิเคราะห์ความเชื่อมโยงในแต่ละระดับ นำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกหญ้า 20 คน ผู้รวบรวม 3 คน สหกรณ์ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ 3 กลุ่ม และโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ 1 แห่ง นำหลักการ Pareto’s Principle (80/20) มาใช้ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานได้ให้ข้อมูล ร่วมวิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนะแนวทางการพัฒนา เพื่อตอบสนองได้ตรงตามความต้องการของทั้งห่วงโซ่อุปทาน ผลวิจัยพบว่า การสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งในรูปแบบกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์หรือการเกษตรแบบสัญญา โดยมีการวางแผนและแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกันในทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ มีการบริหารจัดการเชิงรุกแบบบูรณาการระหว่างฝ่ายอุปสงค์และอุปทาน และมีหน่วยงานภาครัฐและภาคท้องถิ่นคอยประสานงาน ให้ความรู้ กำกับและดูแลการดำเนินงาน เป็นแรงขับเคลื่อนให้หญ้าเนเปียร์ ปากช่อง 1 สามารถแข่งขันกับพืชพลังงานและพืชอาหารสัตว์อื่นได้
Article Details
Area Based Development Research Journal values copyright protection and licensing to safeguard author rights and facilitate the appropriate dissemination of research. Our policies ensure openness, accessibility, and attribution. Authors retain copyright ownership, and articles are published under a Creative Commons Attribution License (CC BY), allowing sharing, adaptation, and proper attribution. Authors have the freedom to publish under the CC BY license, granting broad reuse and distribution permissions. The journal supports posting articles on third-party repositories, adhering to institutional and funding restrictions. Author guidelines detail copyright and licensing requirements, empowering authors with knowledge about their rights and responsibilities. These policies cultivate an environment of collaboration, openness, and responsible sharing, benefiting authors and the research community while honoring intellectual property rights.