การกลายเป็นเมืองของชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยพะเยา: กรณีศึกษา ตำบลแม่กา จังหวัดพะเยา

Main Article Content

ฉัตรทิพย์ ชัยฉกรรจ์
พรรณยุพา นพรัก
ดารารัตน์ คำเป็ง
นิศาชล พรหมรินทร์
ไพรินทร์ ขัดธิพงษ์
ณัฐฑรี สินธุนาวา พงษ์พิพัฒน์
กัญณภัทร วศะวัน

Abstract

บทความนี้นำเสนอ ผลการศึกษาการกลายเป็นเมืองที่เกิดขึ้นภายในชุมชนตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัด พะเยา จากการตั้งอยู่ของมหาวิทยาลั ยพะเยา โดยผลการศึ กษาจากการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่าการกลาย เป็นเมืองของชุมชนตำบลแม่กาเกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2540 เรื่อยมา ภายใต้พัฒนาการของตำบลแม่กาที่สามารถ แบ่งได้เป็น 4 ยุค ได้แก่ แม่กาก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง แม่กาภายใต้การบริหารของเชียงราย แม่กากับการ จัดการตนเองภายใต้จังหวัดพะเยา และแม่กากับการกลายเป็นเมือง ซึ่งในยุคสุดท้ายนี้ตำบลแม่กามี ความเป็นเมือง เพิ่มขึ้นทั้ง 5 มิติ คื อด้านประชากรและวิถีชีวิตด้านพื้ นที่การปกครอง ด้านกิ จกรรมทางเศรษฐกิจด้านสาธารณูปโภค และสิ่งแวดล้อม และด้านความเป็นเมืองมหาวิทยาลัย ความเป็นเมืองนี้เกิดขึ้นควบคู่ไปกับผลกระทบทางสังคม 24 ประการ ซึ่งเมื่อจัดอันดับความรุนแรง/ความสำคัญ พบว่า อาชีพในตำบลแม่กาที่มีความหลากหลายมากขึ้น เป็นผลกระทบเชิงบวกที่สำคัญที่สุด และปัญหาขยะเป็นผลกระทบเชิ งลบที่รุนแรงที่สุด นอกจากนี้งานชิ้นนี้ได้เสนอ แนวทางการพัฒนาตำบลแม่กาสู่เมืองมหาวิทยาลัยน่าอยู่และข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาเมืองทั้ง 5 มิติของการกลาย เป็นเมืองข้างต้น ซึ่งนำมาสู่การจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ด้วยวิ ชาการของคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ในท้ายที่สุด


Urbanization in the Communities Surrounding the University of Phayao: The Case of Maeka Sub-district, Phayao Province

This article presents findings from the study on Maeka urbanization which is a result of the establishment of the University of Phayao in Maeka sub-district, Phayao province. The research employs the qualitative methodology. The urbanization in Maeka has started in B.E. 2540s and the development could be analyzed into 4 periods including; 1) Maeka before Thailand’s political regime shift, 2) Maeka under Chiang Rai administration, 3) the self-governed Maeka in Phayao and 4) the urbanized Maeka. Upon the urbanization, Maeka have been changed in 5 dimensions: population and culture, politics and administration, economic activities, infrastructure and environment, and university town. Also, this urbanization leads to 24 social impacts. Regarding severity/intensity, the diversity of occupational opportunities has the most intense positive impact while the waste problem causes the most severe negative impact. Lastly, this research provides policy recommendations for the development of Maeka towards urbanized university town. It also leads to a draft of the Area-based collaboration (ABC) research development plan.

Article Details

How to Cite
ชัยฉกรรจ์ ฉ., นพรัก พ., คำเป็ง ด., พรหมรินทร์ น., ขัดธิพงษ์ ไ., พงษ์พิพัฒน์ ณ. ส., & วศะวัน ก. (2017). การกลายเป็นเมืองของชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยพะเยา: กรณีศึกษา ตำบลแม่กา จังหวัดพะเยา. Area Based Development Research Journal, 9(3), 178–190. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/abcjournal/article/view/95254
Section
Research Articles