งานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ รูปแบบงานวิจัยใหม่ ที่ท้าทายกระบวนทัศน์การวิจัยของประเทศไทย

Main Article Content

กิตติ สัจจาวัฒนา

Abstract

การสร้างข้อมูลและความรู้เพื่อการพัฒนาเป็นเงื่อนไขความสําเร็จของการพัฒนาประเทศ  สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย  (สกว.)  จึงได้พัฒนารูปแบบงานวิจัยที่เรียกว่า  งานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่  (Area-based collaborative  research  for  development:  ABC  research)  เพื่อสร้างการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ด้วยข้อมูลและความรู้ที่เกิดจากการวิจัย  โดยพัฒนาหลักคิดจากการสนับสนุนให้เกิดผลงานวิจัยในพื้นที่มากว่า  10  ปี  (ตั้งแต่ พ.ศ.  2548  จนถึงปัจจุบัน)  ตามกรอบแนวคิดการทําางานวิจัยเชิงพื้นที่  ดังนี้  1)  พื้นที่ที่สําคัญสําหรับการพัฒนาประเทศและสามารถบูรณาการงานพัฒนาได้จริงคือ  จังหวัดและกลุ่มจังหวัด  เนื่องจากมีโครงสร้างและกลไกการพัฒนาที่สําคัญชัดเจน  หากมีการพัฒนาพื้นที่ให้มีการเจริญเติบโตที่สมดุล  ย่อมเป็นการพัฒนาประเทศที่แท้จริง2)  โจทย์วิจัยต้องมาจากปัญหาและโอกาสที่สําคัญของพื้นที่ระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด  ที่ส่งผลกระทบต่อคนจํานวนมากในพื้นที่  3)  ต้องมีกระบวนการวิจัยที่สร้างการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาพื้นที่  จนเกิดเป็นกลไกการพัฒนาพื้นที่  ดังนั้นรูปแบบการวิจัยนี้จึงเป็นรูปแบบใหม่ที่ต้องมีการจัดการงานวิจัยใหม่ที่ท้าทายต่อกระบวนทัศน์การวิจัยแบบดั้งเดิม และต้องมุ่งเน้นให้เกิดผลงานวิจัยที่ตอบสนองต่อการพัฒนาพื้นที่อย่างสมดุลได้อย่างแท้จริง


 


Area-Based Collaborative Research: A Novel Strategy to Challenge a Research Paradigm of Thailand


Information and knowledge managements are the integral parts of the country development. Since 2006, Thailand Research Fund have nurtured the research strategy called Area-Based Collaborative Research for Development (ABC Research) to fuel the local growth by information and knowledge from the research. The conceptual framework is as follows. The functional unit is designated as the province and provincial cluster in order to provide effective structures and mechanisms for the inclusive growth. Secondly, the research problems must stem from the needs and opportunities in the provincial areas and clusters, affecting a large number of local stakeholders. Finally, the process encourages the participation of community networks and public sectors to initiate the mechanism for area-based development. This new research strategy therefore requires a unique management which challenges a traditional research paradigm. It also emphasizes on the research outcome that truly fulfil the balanced growth of the area.

Article Details

How to Cite
สัจจาวัฒนา ก. (2017). งานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ รูปแบบงานวิจัยใหม่ ที่ท้าทายกระบวนทัศน์การวิจัยของประเทศไทย. Area Based Development Research Journal, 9(1), 3–7. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/abcjournal/article/view/95459
Section
Invited Article