การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดระบบโครงข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดชุมพร

Main Article Content

อำนาจ รักษาพล
เบญจมาศ ณ ทองแก้ว
จุฑามาส เพ็งโคนา
ชลดรงค์ ทองสง
บุญศิลป์ จิตตะประพันธ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาความคิดเห็นและความต้องการของนักท่องเที่ยวต่อรูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชน  และกําหนดกลยุทธ์ทางการตลาดระบบโครงข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน  ภายในจังหวัดชุมพร โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสํารวจ การประชุมเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์สถานภาพแหล่งท่องเที่ยว  วิเคราะห์  SWOT  และใช้เครื่องมือแบบประเมินสถานภาพแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และแบบสอบถามนักท่องเที่ยว วิเคราะห์เนื้อหา และประมวลผลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เห็นว่า  การได้เรียนรู้  และสัมผัสธรรมชาติคือแรงจูงใจหลักในการมาเยือน  (ร้อยละ  64.0) นิยมกิจกรรมถ่ายภาพ และเดินศึกษาธรรมชาติ (ร้อยละ 54.2 และ 34.4) โดยรับรู้ภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวในด้านผู้คนมีอัธยาศัยมิตรไมตรีที่ดี (ค่าเฉลี่ย = 4.89 ) และความเชื่อและศรัทธาต่อพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (ค่าเฉลี่ย = 4.80) ขณะที่ในด้านความสนใจเส้นทางการท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลที่ได้ศึกษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมภายในแหล่งท่องเที่ยว (ร้อยละ 30.2) และสนใจมาเยือนโครงข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน อําเภอเมือง-สวี-ทุ่งตะโก-หลังสวน-ละแม ในระดับมากที่สุด (ร้อยละ 49.3) ด้านสถานภาพแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน ส่วนใหญ่เป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ (16 แหล่ง) และมีศักยภาพสูงจํานวน 4 แหล่ง ได้แก่ บ้านเกาะพิทักษ์ ชุมพรคาบาน่ารีสอร์ท ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามศาสตร์โครงการพระราชดําริหนองใหญ่ และบ้านคลองเรือ (ค่าคะแนน 2.80, 2.80, 2.60 และ 2.52 ตามลําดับ) ทั้งนี้ กลยุทธ์ทางการตลาดระบบโครงข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนมี 7 กลยุทธ์หลัก คือ 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้ 2) การขยายแนวคิดการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3) การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและสมาชิกองค์กรเครือข่ายฯ 4) การกําหนดโครงข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพรและพื้นที่เชื่อมโยง 5) การพัฒนาโครงข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน 6) การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ประเภทต่างๆ และ 7) การเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนระดับภาคใต้และประเทศ


 


Marketing Strategy Development of Community-Based Tourism Looping System in Chumphon Province


This research aimed to study tourist’s opinions and needs on types of community-based tourism (CBT) and to initiate suitable marketing strategies for Chumphon CBT network. It was participatory action research. Data was collected by using survey, workshops, analyzed tourist attraction status and SWOT analysis. The instruments used for this research were an evaluation of nature-based-tourism site potential (ENTSP), an application of recreation opportunity spectrum (ROS) and questionnaires. Descriptive content analysis and evaluation were used to determine suitable marketing strategies. The results of this research found that most of tourists were motivated to travel because of learning and natural touch (64.0%), photography (54.2%) and natural trail (34.4%). The majority of tourists had positive perception towards Chumphon’s overall tourism image, friendly people (mean = 4.89) and believe in Prince of Chumphon (mean = 4.80). Tourists were interested in coastal and cultural tourism routes (30.2%) and interested the most in CBT sites in Meuang-Sawee-Thungtago-Langsuan and Lamae district (49.3%). Moreover, the potentials of CBT sites, most of the CBT sites were natural attractions (16 sites) and 4 of the CBT sites had high potential which were Phitak Island, Chumphon Cabana Resort, Nong Yai Sufficiency Economy Learning Center and Klong Ruea community (2.80, 2.80, 2.60 and 2.52, respectively). Additionally, the suitable marketing strategies for Chumphon CBT network consisted of 7 strategies which were 1) organizing Southern CBT workshops 2) concept development of CBT 3) developing human resources 4) initiating Chumphon CBT network and connecting areas 5) developing CBT network 6) improving media for public relations and 7) developing southern region and nationwide network.

Article Details

How to Cite
รักษาพล อ., ณ ทองแก้ว เ., เพ็งโคนา จ., ทองสง ช., & จิตตะประพันธ์ บ. (2017). การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดระบบโครงข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดชุมพร. Area Based Development Research Journal, 9(1), 23–37. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/abcjournal/article/view/95464
Section
Research Articles