การแก้ไขปัญหาความยากจน : กรณีศึกษาปฏิบัติการแก้จนจังหวัดพัทลุง

Main Article Content

ทิพย์ทิวา สัมพันธมิตร
นพมาศ ปักเข็ม
ณภัทร แก้วภิบาล
อภินันท์ เอื้ออังกูร
สิรยา สิทธิสาร
สานิตย์ ศรีชูเกียรติ
พรพันธ์ เขมคุณาสัย
อัถพงศ์ ปิ่นทองพันธ์
สมัคร แก้วสุกแสง
ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์

บทคัดย่อ

จังหวัดพัทลุงมีค่าดัชนีความก้าวหน้าการพัฒนาคนด้านรายได้ภาคครัวเรือนต่ำและมีสัดส่วนคนจนสูง งานวิจัยนี้นำเสนอการออกแบบกระบวนการทำงานอย่างมีส่วนร่วมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงพื้นที่และแก้ไขปัญหาความยากจนที่เหมาะสมกับกลุ่มคนจนในจังหวัดพัทลุง โดยมีกระบวนการดังนี้ 1) การสร้างกลไกความร่วมมือแบบบูรณาการระหว่างภาคีเครือข่ายระดับจังหวัดและระดับพื้นที่ 2) การพัฒนาระบบค้นหาและสอบทานข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับพื้นที่ครอบคลุมจังหวัดพัทลุง 11 อำเภอ 3) การวิเคราะห์ระดับทุนศักยภาพการดำรงชีพอย่างยั่งยืนและระบบการส่งต่อความช่วยเหลือทั้งจังหวัด และ 4) การพัฒนาโมเดลแก้จนนำร่องระดับพื้นที่เพื่อพัฒนาอาชีพและเพิ่มทักษะการดำรงชีวิตให้แก่ครัวเรือนยากจน ผลการดำเนินงานทำให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือของพหุภาคีเครือข่ายเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนระดับจังหวัด ผ่านกลไกศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดพัทลุง (ศจพ.จ.พัทลุง) ครอบคลุมทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน และมหาวิทยาลัยในพื้นที่ ผลการค้นหาและสอบทานข้อมูลครัวเรือนยากจนพบว่าจังหวัดพัทลุงมีคนจนจำนวน 14,212 ครัวเรือน รวมจำนวน 59,495 คน ผลการวิเคราะห์ระดับทุนดำรงชีพ 5 ด้าน พบว่า ทุนมนุษย์มีระดับคะแนน 1.85 อยู่ในกลุ่มอยู่ยาก ทุนกายภาพมีระดับคะแนน 2.77 อยู่ในกลุ่มพออยู่ได้ ทุนการเงินมีระดับคะแนน 2.20 อยู่ในกลุ่มอยู่ยาก ทุนธรรมชาติมีระดับคะแนน 2.72 อยู่ในกลุ่มพออยู่ได้ และทุนสังคมมีระดับคะแนน 1.53 อยู่ในกลุ่มอยู่ลำบาก การดำเนินการส่งต่อความช่วยเหลือแก่หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านที่อยู่อาศัยเพื่อซ่อมแซมบ้านเรือนและช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียงและผู้พิการจำนวน 9,597 ครัวเรือน และการพัฒนาโมเดลแก้จนนำร่อง “กระจูดแก้จน” ในพื้นที่ตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน ด้วยการนําภูมิปัญญาหัตถกรรมกระจูดและอัตลักษณ์ของชุมชนผสมผสานกับความรู้วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม และนำคนจนเข้าสู่ห่วงโซ่คุณค่าการผลิต พัฒนาความรู้และสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันนำไปสู่การพัฒนาอาชีพและเสริมสร้างทักษะ เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่คนจนและขยายผลเพื่อการพัฒนาอาชีพและยกระดับรายได้คนจน ผลของการทำงานที่เชื่อมโยงกับกลไกและภาคีเครือข่ายแบบบูรณาการทำให้เกิดการพัฒนาระบบฐานข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับจังหวัด และระบบติดตามการช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของจังหวัดพัทลุงอย่างมีส่วนร่วมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ได้

Article Details

How to Cite
สัมพันธมิตร ท., ปักเข็ม น., แก้วภิบาล ณ., เอื้ออังกูร อ., สิทธิสาร ส., ศรีชูเกียรติ ส., เขมคุณาสัย พ., ปิ่นทองพันธ์ อ., แก้วสุกแสง ส., & จิตรนิรัตน์ ณ. (2023). การแก้ไขปัญหาความยากจน : กรณีศึกษาปฏิบัติการแก้จนจังหวัดพัทลุง. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 15(4), 281–295. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/abcjournal/article/view/268084
บท
บทความวิจัย

References

Aueaungkul, A., Srichookiat, S., Khemakhunasai, P., Sampantamit, T., Kaewsuksaeng, S., & Jitnirat, N. (2023). Tube sedgebased poverty alleviation model of Thale Noi community, Phatthalung province. Area Based Development Research Journal, 15(3), 251–265. (in Thai).

Bangkok Post. (2021). Covid causes plunge into poverty. Retrieved November 12, 2021, from: https://www.bangkokpost.com/thailand/general/2171119/covid-causes-plunge-into-poverty.

Brynjolfsson, E., & McAfee, A. (2014). The second machine age: Work, progress, and prosperity in a time of brilliant technologies. New York: W. W. Norton & Company.

Davenport, T. H., & Harris, J. G. (2007). Competing on analytics: The new science of winning. USA: Harvard Business School Press.

Fiszbein, A., & Schady, N. (2009). Conditional cash transfers: Reducing present and future poverty. Washington DC: World Bank Publications.

Mayer-Schönberger, V., & Cukier, K. (2013). Big data: A revolution that will transform how we live, work, and think. USA: Houghton Mifflin Harcourt.

Meyer, B. D., & Rosenbaum, D. T. (2000). Making single mothers work: Recent tax and welfare policy and its effects. National Tax Journal, 53(4), 1027-1062.

Ministry of Higher Education, Science, Research and innovation. (2020). China’s path to poverty alleviation. Retrieved January 25, 2022, from: https://www.mhesi.go.th/index.php/en/content_page/item/3168-THA-CHN_Jan2564.html. (in Thai).

National Electronics and Computer Technology Center. (2018). Thai people map and analytics platform. Retrieved November 12, 2021, from: https://www.tpmap.in.th/. (in Thai).

Office of the National Economics and Social Development Council. (2020). Report on the poverty situation in 2019. Retrieved January 25, 2022, from: https://www.nesdc.go.th/article_attach/article_file_202011031 11407.pdf. (in Thai).

Office of the National Economic and Social Development Council. (2021). The thirteen national economic and social development plan (2023-2027). Retrieved January 25, 2022, from: https://www.nesdc.go.th/download/document/Yearend /2021/plan1.pdf. (in Thai).

Office of the National Economic and Social Development Council. (2022). Poverty and inequality report 2021. Retrieved October 23, 2023, from: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=13081. (in Thai).

Office of the National Economics and Social Development Council. (2023). TPMAP logbook. Retrieved November 10, 2023, from: http://nscr.nesdc.go.th/new-tpmap-manual/.(in Thai).

Program Management Unit on Area Based Development. (2022). Annual report program management unit on area based development. Bangkok: Program Management Unit on Area Based Development. (in Thai).

Program Management Unit on Area Based Development. (2023). PPPConnext. Retrieved November 25, 2023, from: http://www.ppaos.com/ppaos/frontend/web/. (in Thai).

Provost, F., & Fawcett, T. (2013). Data science for business: What you need to know about data mining and data-analytic thinking. USA: O’Reilly Media.

Sen, A. (1999). Development as freedom. New York: Random House.

Smith, C., & Nairn, K. (2016). Breaking the cycle of poverty: Family start evaluation final report. Retrieved November 12, 2021, from: https://www.msd.govt.nz/about-msd-and-our-work/publications-resources/evaluation/family-start-evaluation-report.HTML.

United Nations. (2015). Transforming our world: The 2030 agenda for sustainable development. Retrieved November 12, 2021, from: https://sustainabledevelopment.un.org/post2015/transformingourworld.

Wang, J., & Lowatcharin, G. (2020). Implementing targeted poverty alleviation policy of the People’s Republic of China. Journal of Political Science, 18(1), 39-57.