การนำแนวคิดการคิดอย่างนักออกแบบไปใช้ในการพัฒนาเมืองในประเทศไทย - Application of Design Thinking to Urban Development in Thailand

ผู้แต่ง

  • พลเดช เชาวรัตน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • เมธี พิริยการนนท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ศุภธิดา สว่างแจ้ง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การออกแบบบริการ, กระบวนการมีส่วนร่วม, นวัตกรรม, Service Design, Participatory Process, Innovation

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำแนวคิดการคิดอย่างนักออกแบบ เข้ามาใช้ในงานพัฒนาเมืองอย่างมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือการเปรียบเทียบกรณีศึกษา โครงการขอนแก่นเมืองพิเศษ และกาฬสินธุ์สัญจรสุขสบาย
ผลการศึกษาพบว่า 1) เจ้าของโครงการ ควรจะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านนี้โดยตรงเนื่องจากมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติจริง 2) ผู้เข้าร่วมโครงการ ควรประกอบด้วยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ และเปิดรับนวัตกรรมใหม่ และ 3) นวัตกรรม ควรจะสอดคล้องกับผู้เข้าร่วมกระบวนการในเรื่องการนำไปสู่การปฏิบัติ ลดการพึ่งพาหน่วยงานที่ไม่ได้เข้าร่วมกระบวนการ

Abstract
This research aims to study the application of Design Thinking in participatory urban development. The research methodology is a comparison study of ‘Khon Kaen Special City Project’ and ‘Kalasin Happy Street Project’.
The result shows that first the project owner should be an organization who directly responsible for the urban development issue because of high possibility to be realized. Second, participants should involve all stakeholders, especially a young generation who are trending to be creative and still open for new innovation. Third, innovations should be closely related to the participants regarding implementation, avoiding non-participants dependency.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-31