มิติทางเศรษฐศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการพื้นที่ทางเท้า: กรณีศึกษาพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ - Economic Aspects for Pavement Management: Case Study of Rattanakosin Island Area

ผู้แต่ง

  • โสมสกาว เพชรานนท์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วลัยภรณ์ อัตตะนันทน์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

มิติทางเศรษฐศาสตร์, การบริหารจัดการทางเท้า, เกาะรัตนโกสินทร์, Economic Aspects, Pavement Management, Rattanakosin Island

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมของประชาชนในการใช้ทางเท้าและปัญหาที่พบ และ 2) ประเมินมูลค่าความเต็มใจจ่ายเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่ทางเท้า โดยใช้แบบจำลองทางเลือก (Choice Model: CM) พื้นที่ในการศึกษาคือบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ชั้นในที่ตั้งอยู่ในเขตพระนคร ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญจำนวนมาก การศึกษาได้รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากตัวแทนประชาชนจำนวน 705 คน ในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน พ.ศ.2559 ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่ใช้ทางเท้าบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์เป็นประจำ โดยมีระยะทางเฉลี่ยในการเดินประมาณ 1.55 กิโลเมตร/ครั้ง ระยะเวลาในการเดินเท้าในบริเวณนี้ประมาณ 1.33 ชั่วโมง/ครั้ง โดยเดินชมเมือง ซื้อของ และเดินไปทำงาน ตามลำดับ ปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือปัญหาคนเร่ร่อนอาศัยบนทางเท้า การรุกล้ำพื้นที่ทางเท้าจากกิจกรรมหาบเร่และแผงลอย ไฟส่องสว่างไม่เพียงพอช่วงกลางคืน และการมีจักรยานยนต์วิ่งบนทางเท้า ตามลำดับ และจากการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองทางเลือก (CM) พบว่า ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 คุณลักษณะด้านการจัดการการรุกล้ำทางเท้าจากกิจกรรมหาบเร่และแผงลอย ความปลอดภัยจากคนไร้บ้านและคนเร่ร่อน และความเต็มใจจ่ายที่นำเสนอของแต่ละทางเลือก เป็นตัวแปรที่มีผลต่อความพึงพอใจหรืออรรถประโยชน์ในการบริหารจัดการพื้นที่ทางเท้าบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยราคาแฝงของคุณลักษณะด้านการจัดการการรุกล้ำทางเท้าจากกิจกรรมหาบเร่และแผงลอยมีมูลค่าประมาณ 907 บาท/ปี ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่มีราคาแฝงมากที่สุด รองลงมาคือ คุณลักษณะด้านความปลอดภัยจากคนไร้บ้านหรือคนเร่ร่อนมีราคาแฝงประมาณ 834 บาท/ปี

ABSTRACT
This study aimed to 1) investigate behavior of people who use pavement and obstacles that they faced, and 2) evaluate the value of willingness to pay for pavement management using Choice Model (CM). The study area was restricted to inner areas of Rattanakosin Island (Phra Nakhon district) in the city of Bangkok where several tourist attractions and important places are situated. Data were collected from 705 respondents during January to April 2016. The demand analysis found that most respondents usually walked on the pavements on Rattanakosin Island for 1.55 kilometers per time and spent 1.33 hours per time primarily for visiting places, shopping, and going to work, respectively. The main problem identified by the respondents were the homeless wandering along the pavement, the encroachment of street vendors on the pavement, inadequate electric street lighting at night time, and motorcycles riding on the pavement, respectively. The Choice Modeling analysis revealed that pavement management from street vendor encroachment, not having to deal with the homeless, and willingness to pay for pavement measurement of proposed attributes affected people's satisfaction or utility for pavement management with statistical significance at the 99% confidence level. The implicit marginal price for the attribute of pavement management from street vendor encroachment was the highest, followed by the attribute of security from not having to deal with the homeless, with values of approximately 907 and 834 baht per year, respectively.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-31